Page 125 - rambutan
P. 125

3-51





                  (รายได้) และผลตอบแทน โดยการคูณด้วยตัวกอบกู้ทุน (Capital Recovery Factor :   CRF)

                  ที่อัตราดอกเบี้ย (i) เท่ากับร้อยละ 7.00 ต่อปี ค านวณในระยะเวลา 25 ปี นอกจากหลักการหามูลค่า

                  ปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนแล้วได้ใช้ค่าอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit
                  Cost Ratio : B/C ratio) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่แสดงถึงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีของ

                  รายได้กับต้นทุนทั้งหมดตลอดช่วงปีที่ท าการผลิต ค่า B/C สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการผลิต

                  (Productivity) และเปรียบเทียบผลได้รายได้ที่ได้รับจากการลงทุนที่เท่ากันได้ กล่าวคือ การผลิตที่มีค่า
                  B/C มากกว่า 1 จะแสดงให้เห็นว่า การผลิตนั้นให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปและย่อมดีกว่า

                  การผลิตหรือการลงทุนที่มีค่า B/C น้อยกว่า 1 จุดคุ้มทุนหรือปีที่คุ้มทุน ใช้บอกระยะเวลา (จ านวนปี) ที่คืนทุน
                  (Payback Period) โดยเป็นระยะที่ผลตอบแทนสุทธิจากการผลิตมีค่าเท่ากับต้นทุนในการผลิต ซึ่งจากตาราง

                  มูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตเงาะ จุดคุ้มทุนเป็นปีที่ผลตอบแทนสะสมมีค่า

                  เป็นบวก และเมื่อท าการผลิตต่อไปผลตอบแทนที่ได้จะเป็นก าไรสะสมในปีต่อ ๆ ไป อัตราผลตอบแทนภายใน
                  (Internal Rate of Return : IRR) ใช้พิจารณาส าหรับการตัดสินใจลงทุนผลิต โดยเปรียบเทียบกับอัตราคิด

                  ลด ถ้า IRR มีค่ามากกว่าอัตราคิดลด แสดงว่า การผลิตนั้นสามารถลงทุนได้ การวิเคราะห์ข้อมูลตาม
                  หลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ท าให้ทราบข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความส าคัญต่อ

                  เกษตรกรในฐานะผู้ประกอบการโดยจะเป็นข้อมูลให้ทราบถึงสถานะทางเศรษฐกิจที่จะตัดสินใจท า

                  การผลิตหรือด าเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการ
                  วางแผนและก าหนดเขตการผลิตต่อไป นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการ

                  ผลิตพืชชนิดอื่นที่ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยหลักการเดียวกัน

                        การผลิตเงาะปีการผลิต 2559 ท าการส ารวจการผลิตเงาะในพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัดจันทบุรี
                  ตราดและระยอง) และภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีและชุมพร) ทุกตัวอย่างที่ส ารวจ

                  เป็นเงาะพันธุ์โรงเรียน เกษตรกรขายผลผลิตให้พ่อค้าต่างจังหวัดร้อยละ 49.29 (ภาคตะวันออก

                  ร้อยละ 54.23 ภาคใต้ร้อยละ 38.97) ขายให้พ่อค้าในจังหวัดเดียวกันร้อยละ 28.57 (ภาคตะวันออกร้อยละ
                  36.97 ภาคใต้ร้อยละ 11.03) และพ่อค้าในท้องถิ่นร้อยละ 22.14 (ภาคตะวันออกร้อยละ 8.80

                  ภาคใต้ร้อยละ 50.00)

                        3.2.1  การใช้ปัจจัยการผลิต

                            การใช้ปัจจัยการผลิตเงาะในปีการผลิต 2559 จากการส ารวจเกษตรกรที่เป็นตัวอย่างท าสวน

                  ขนาดเล็ก เกษตรกรดูแลรักษาเองโดยใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในช่วงที่ยังไม่ให้ผลผลิต ปีที่ 1 ใช้แรงงาน
                  เครื่องจักรในการเตรียมดินไถบุกเบิก ยกร่อง ตัดหญ้าและพ่นสารก าจัดวัชพืช ปีที่ 2-3 ใช้ส าหรับให้น ้า

                  ตัดหญ้าและพ่นสารก าจัดวัชพืช/ศัตรูพืช ช่วงที่ให้ผลผลิต ได้แก่ ปีที่ 4-10  ปีที่ 11-20 และปีที่ 20 ขึ้นไป

                  ใช้แรงงานเครื่องจักรส าหรับให้น ้า ตัดหญ้า พ่นสารเร่งการเจริญเติบโต/สารเร่งเกสรตัวผู้พ่นสารป้องกัน
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130