Page 124 - rambutan
P. 124

3-50





                  3.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                        การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของการผลิตพืชเศรษฐกิจเงาะ ท าการวิเคราะห์ด้าน

                  การใช้ปัจจัยการผลิต ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนจากการผลิต รวมทั้งปัญหาความต้องการ

                  ความช่วยเหลือจากรัฐและทัศนคติในการผลิตเงาะของเกษตรกร ในส่วนของการใช้ปัจจัยการผลิต
                  ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนจากการผลิต ศึกษาทั้งระดับประเทศ ภาค ระดับความเหมาะสม

                  ทางกายภาพของพื้นที่และช่วงอายุ ในส่วนของช่วงอายุแบ่งเป็นช่วงอายุที่ยังไม่ให้ผลผลิต (ปีที่ 1 และ
                  ป ีที่ 2-3) และช่วงอายุที่ให้ผลผลิต (ปี ที่ 4-10 ปี ที่ 11-20 และปี ที่ 20 ขึ้นไป) ส าหรับระดับ

                  ความเหมาะสมทางกายภาพของพื้นที่ปลูกเงาะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)

                  พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) และพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ส าหรับ
                  ปัญหาความต้องการความช่วยเหลือและทัศนคติของเกษตรกรไม่ได้แบ่งการศึกษาตามระดับ

                  ความเหมาะสมของพื้นที่ ราคาผลผลิตที่น ามาค านวณรายได้หรือมูลค่าผลผลิตใช้ราคาเฉลี่ยจาก

                  ที่ส ารวจได้ราคาเดียว คือ ระดับประเทศกิโลกรัมละ 24.34 บาท ภาคตะวันออกกิโลกรัมละ 24.66 บาท
                  และภาคใต้กิโลกรัมละ 23.10 บาท ทั้งนี้เพื่อก าจัดปัญหาตัวแปรด้านราคาที่แตกต่างกันตามสถานที่

                  และระยะเวลาการขายผลผลิต

                        ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตจ าแนกเป็น 2 ประเภท คือต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่
                  ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อท าการผลิตและจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต

                  ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปลูก (พันธุ์และแรงงาน) ค่าใช้จ่ายในการบ ารุงรักษา (ค่าปุ๋ ย สารอาหาร

                  สารป้องกันและก าจัดวัชพืช ศัตรูพืช ค่าแรงงาน) ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคงที่แม้จะไม่ท าการ
                  ผลิตก็ต้องมีค่าใช้จ่ายจ านวนนี้ ได้แก่ ค่าเช่าที่ดิน ค่าใช้ที่ดิน ค่าภาษีที่ดินและค่าเสื่อมอุปกรณ์ต่างๆ

                  เป็นต้น ต้นทุนดังกล่าวจ าแนกเป็น ต้นทุนที่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นตัวเงินที่เกษตรกรจ่ายไปจริง

                  ในการซื้อหรือจ้างปัจจัยในการผลิต และต้นทุนที่ไม่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่คิดจากมูลค่าของปัจจัย
                  ที่เกษตรกรใช้ในการผลิต โดยเกษตรกรเป็นเจ้าของปัจจัยหรือได้มาโดยไม่ได้คิดเป็นตัวเงิน ได้แก่

                  ค่าแรงงานคนในครัวเรือน ค่าแรงงานเครื่องจักรของตนเองและค่าใช้ที่ดินของตนเอง เป็นต้น
                  ผลตอบแทนจากการผลิตจะพิจารณาจากผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงิน ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C) เพื่อเปรียบเทียบ

                  และแสดงให้เห็นถึงรายได้ที่ได้รับจากการลงทุน
                        เนื่องจากเงาะเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน

                  จึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการ โดยใช้หลักการหามูลค่าปัจจุบัน (Net
                  Present Value : NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้อัตราดอกเบี้ย

                  เงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร้อยละ 7.00 บาทต่อปี เป็นอัตราคิดลด (Discount

                  Rate) แล้วหาค่าผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีด้วยการปรับค่ามูลค่าปัจจุบันของต้นทุน มูลค่าผลผลิต
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129