Page 138 - oil palm
P. 138

2-114







                  2.6  สภาวะการผลิตและการตลาด

                        ปาลมน้ํามันมีแหลงกําเนิดดั้งเดิมอยูในทวีปแอฟริกาแถบฝงตะวันตก ระหวางเสนขนาน 15 องศาเหนือ
                  และเสนขนาน 10 องศาใต นิยมปลูกกันอยางแพรหลายในทวีปแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย ประเทศ

                  ผูผลิตและสงออกน้ํามันปาลมและเมล็ดปาลมน้ํามันที่สําคัญของโลก ไดแก มาเลเซีย อินโดนีเซีย

                  ไนจีเรีย โดยปาลมน้ํามันถูกนําเขามาปลูกในทวีปเอเชียเปนครั้งแรกที่สวนพฤกษศาสตรโบเกอรประ
                  เทศอินโดนีเซีย ประมาณป 2391 ตอมามีการนําปาลมน้ํามันเขามาปลูกแพรขยายไปที่เดลี ทางตอนเหนือของ

                  เกาะสุมาตรา ปรากฏวา ปาลมน้ํามันใหผลผลิตสูงมาก มีผลโต และเปลือกหนา จึงไดมีการนํามา

                  เพาะปลูกในเชิงพาณิชยในป 2454 และตอมาอีกไมนานมีการนําปาลมน้ํามันไปปลูกในประเทศ
                  มาเลเซีย จนกระทั่งประเทศมาเลเซียไดกลายเปนผูผลิตเพื่อการสงออกน้ํามันปาลมรายใหญที่สุดของโลก

                  ตั้งแตป 2508 เปนตนมา (วรางค,2551) ปจจุบันมีเพียง 42 ประเทศจาก 223 ประเทศทั่วโลกที่สามารถ

                  ปลูกได ในจํานวนนี้มีเพียง 4 ประเทศที่สามารถปลูกปาลมน้ํามันไดผลดี ไดแก ประเทศมาเลเซีย

                  โคลัมเบีย ไทย และอินโดนีเซีย (ประชาคมวิจัย, ม.ป.ป.)
                        สําหรับประเทศไทยพระยาประดิพัทธภูบาลเปนผูนําปาลมน้ํามันเขามาปลูกในประเทศเปนครั้งแรก

                  ในป 2472โดยนํามาจากประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ปลูกเปนไมประดับที่สถานีทดลองยางคอหงส

                  จังหวัดสงขลา และสถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ตอมาชวงกอนสงครามโลกครั้งที่ 2 หมอมเจา
                  อมรสมานลักษณ กิติยากร ไดริเริ่มการทําสวนปาลมน้ํามันเพื่อใชในเชิงพาณิชยขึ้นเปนคนแรกของ

                  ประเทศไทย โดยทําการปลูกปาลมน้ํามันเนื้อที่ขนาด 1,111 ไร ณ ตําบลบานปริก อําเภอสะเดา จังหวัด

                  สงขลา แตสวนนี้ตองเลิกกิจการไปเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นในป 2511 มีการสงเสริมใหมี

                  การปลูกปาลมน้ํามันในรูปบริษัทเพื่อการคาอยางจริงจังในพื้นที่ขนาดใหญสองโครงการ โครงการแรกที่
                  นิคมสรางตนเองพัฒนาภาคใต จังหวัดสตูล ประมาณ 20,000 ไร และโครงการที่สองเปนของบริษัท

                  อุตสาหกรรมและสวนปาลม จํากัด ตําบลปลายพระยา อําเภออาวลึก จังหวัดกระบี่ ประมาณ 20,000 ไร

                  ภายหลังที่ประสบความสําเร็จทั้งสองโครงการมีผูสนใจปลูกปาลมน้ํามันเพิ่มขึ้นอยางแพรหลาย ทําให
                  ความนิยมในการปลูกปาลมน้ํามันในประเทศไทยมีการขยายตัวอยางรวดเร็วและตอเนื่องเปนอยางมาก

                  ตั้งแตป 2520 เปนตนมา (วรางค, 2551)

                        ปจจุบันความนิยมในการทําสวนปาลมน้ํามันยังคงเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง โดยในชวง 10 ปที่ผานมา
                  ตั้งแต ป 2546-2555 เนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศมีอัตราการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น สงผลให

                  เนื้อที่ใหผลทั้งประเทศเพิ่มขึ้นตามไปดวยโดยเฉพาะในชวง 5ปที่ผานมา ตั้งแต ป 2551-2555นโยบายหรือ

                  แผนการพัฒนาตางๆ ของภาครัฐ เปนอีกสวนหนึ่งที่เรงผลักดันใหเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาลมน้ํามัน
                  เชน นโยบายปรับโครงสรางเศรษฐกิจภาคเกษตร นโยบายพลังงาน ของรัฐบาล แผนพัฒนาอุตสาหกรรม

                  ปาลมน้ํามันและน้ํามันปาลม ป 2551-2555 หรือแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ป (พ.ศ. 2551-2565) สําหรับ
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143