Page 52 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 52

2-30






                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  เป็นดินอินทรีย์  เมื่อแห้งจะยุบตัวและปฏิกิริยา

                  ดินจะเป็นกรดรุนแรงมาก  ทําให้ขาดธาตุอาหารพืชอย่างรุนแรง  นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีนํ้าแช่ขัง

                  อยู่ตลอดเวลา

                           กลุมชุดดินที่ 58

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มชุดดินที่ 57 คือ พบบริเวณพื้นที่ลุ่มตํ่าหรือพื้นที่พรุ

                  มีนํ้าแช่ขังอยู่เป็นเวลานานหรือตลอดปี  เป็นดินลึกการระบายนํ้าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นพวก
                  ดินอินทรีย์ที่มีเนื้อหยาบที่มีความหนามากกว่า 100  เซนติเมตร  มักมีเศษพืชขนาดเล็กและขนาดใหญ่

                  ปะปนอยู่ทั่วไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพตํ่าเป็นกรดรุนแรงมาก

                  ขาดธาตุอาหารพืชต่างๆ  อย่างรุนแรงและยากต่อการใช้เครื่องมือทางการเกษตร เนื่องจากเป็นที่ลุ่มตํ่า
                  และดินยุบตัว หากมีการระบายนํ้าออกเมื่อดินแห้งจะติดไฟได้ง่าย


                           กลุมชุดดินที่ 59
                           กลุ่มดินนี้พบบริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณพื้นล่างของเนินหรือหุบเขาที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ

                  หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลํานํ้าพัดพามาทับถมกัน

                  ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลวถึงเลว มีลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ เช่น เนื้อดิน สีดิน
                  ความลึกของดิน ปฏิกิริยาดิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับชนิดของ

                  วัตถุต้นกําเนิดดินในบริเวณนั้นๆ ส่วนมากมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย ดินมีความ

                  อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่ ดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า เสี่ยงต่อ
                  การขาดนํ้า และบางปีอาจถูกนํ้าท่วม การระบายนํ้าเลวถึงค่อนข้างเลว


                           กลุมชุดดินที่ 60

                           กลุ่มดินนี้พบบริเวณสันดินริมนํ้า บริเวณพื้นที่เนินตะกอนซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่
                  ค่อนข้างเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นหน่วยผสมของดินหลายชนิดที่เกิดจากตะกอนลํานํ้าพัดพา

                  มาทับถมกัน ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง เป็นดินลึกเนื้อดินเป็นพวกดินร่วน บางแห่ง

                  มีชั้นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายหรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการตกตะกอนต่างยุคของดินอันเป็นผล
                  มาจากการเกิดนํ้าท่วมใหญ่ในอดีต ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่ เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย บริเวณเนินตะกอน

                  มีชั้นทราย และกรวดทับถมอยู่ ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงง่ายต่อการถูกชะล้าง
                  พังทลาย และสูญเสียหน้าดิน






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57