Page 47 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 47

2-25






                  วัตถุนํ้าพัดพาจากบริเวณที่สูง วางทับอยู่บนชั้นดินร่วนหยาบหรือร่วนละเอียด พบในบริเวณพื้นที่ดอนที่

                  มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ  ถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าดีถึงดี

                  ปานกลาง เนื้อดินภายในความลึก 50-100 เซนติเมตร เป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วน ส่วนชั้นดิน
                  ถัดลงไปเป็นดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่ามาก  เนื้อดินบนเป็น

                  ทรายจัด  พืชที่ปลูกมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดแคลนนํ้าได้ง่าย  แต่ถ้ามีฝนตกมากดินชั้นบนจะแฉะและ

                  อาจเป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกบางชนิด บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย

                           กลุมชุดดินที่ 42

                           เป็นกลุ่มชุดดินที่พบบริเวณหาดทรายเก่าหรือสันทรายชายทะเล  เกิดจากตะกอนทราย

                  ชายทะเล พบบนพื้นที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ  ดินลึกปานกลางถึงชั้นดาน
                  อินทรีย์ มีการระบายนํ้าดีปานกลาง เนื้อดินเป็นทรายจัด สีดินบนเป็นสีเทาแก่ ถัดลงไปเป็นชั้นทราย

                  สีขาวอยู่เหนือชั้นที่มีการสะสมอินทรียวัตถุหรือฮิวมัส มีสีนํ้าตาลหรือสีนํ้าตาลแดง มีชั้นดานพบ

                  ภายในความลึก 1 เมตร จากผิวดินบนเป็นส่วนใหญ่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า
                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่ามาก  และเนื้อดิน

                  ค่อนข้างเป็นทรายจัด  ไม่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชหลงเหลืออยู่  และพืชมักแสดงอาการ

                  ขาดธาตุอาหารให้เห็นในช่วงฤดูแล้งชั้นดานจะแห้งและแข็งมาก รากพืชไม่สามารถไชชอนผ่านไปได้
                  ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเปียกแฉะและมีนํ้าแช่ขัง


                           กลุมชุดดินที่ 43

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกวัสดุเนื้อหยาบ ดินลึก เกิดจากตะกอนทรายชายทะเล หรือจาก
                  การสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ

                  พบบริเวณลูกคลื่นลอนลาด บริเวณชายหาดทรายหรือสันทรายชายทะเลบางแห่ง บริเวณที่ลาดเชิงเขา

                  ในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคตะวันออก ภาคใต้  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอน

                  ลาดเล็กน้อย มีการระบายนํ้าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า
                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  เนื้อดินเป็นทรายจัด  ทําให้มีความสามารถ  ในการ

                  อุ้มนํ้าได้น้อย พืชจะแสดงอาการขาดนํ้าอยู่เสมอ นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่ามาก

                           กลุมชุดดินที่ 44
                           เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้าหรือจากการสลายตัวผุพังอยู่

                  กับที่ของพวกวัสดุเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอน มีสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนชัน

                  เป็นดินลึกมีการระบายนํ้าดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52