Page 50 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 50

2-28






                  ค่อนข้างหยาบหรือค่อนข้างละเอียดที่มาจากพวกหินตะกอนหรือหินแปร พบบริเวณพื้นที่ดอน สภาพ

                  พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีการระบายนํ้าดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนเศษหิน

                  ซึ่งเศษหินส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย ควอร์ตไซต์หรือหินดินดาน และพบชั้นหินพื้น ที่ความลึก
                  50 เซนติเมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  เป็นดินตื้น  มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็น

                  ปริมาณมาก  และมีชั้นหินพื้นอยู่ตื้น ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะเกิด
                  การชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย


                           กลุมชุดดินที่ 52

                           เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากตะกอนลํานํ้าทับอยู่บนชั้นปูนมาร์ล พบบริเวณที่ลาดเชิงเขาหินปูน

                  มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา เป็นดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ล มีการระบายนํ้าดี เนื้อดิน
                  เป็นพวกดินเหนียว ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มีก้อนปูนหรือปูนมาร์ลปะปนอยู่มาก

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ดินตื้นถึงชั้นปูนมาร์ลหรือก้อนปูน ดินแห้งแข็ง
                   ดินเปียกเหนียว ทําให้ไถพรวนยาก ขาดแคลนนํ้า และดินเป็นด่างจัด


                           กลุมชุดดินที่ 53
                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อละเอียด ดินลึกปานกลาง เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่

                  หรือถูกเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นกําเนิดดินที่มาจากหินเนื้อละเอียด พบบริเวณ

                  พื้นที่ดอน ในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึง

                  ลูกคลื่นลอนชัน มีการระบายนํ้าดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า   เนื้อดินบนเป็นดินร่วนหรือ
                  ดินร่วนปนดินเหนียวทับอยู่บนดินเหนียว ส่วนดินล่างในระดับความลึกระหว่าง 50-100 เซนติเมตร

                  เป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือดินปนเศษหินผุ

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  ดินลึกปานกลางถึงชั้นกรวดลูกรัง  เศษหินหรือ

                  ชั้นหินพื้นในช่วงความลึก  50-100  เซนติเมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า  ในบริเวณพื้นที่ที่มีความ
                  ลาดชันสูงจะเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย


                           กลุมชุดดินที่ 54
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว ถูกเคลื่อนย้าย

                  มาทับถมในระยะทางไม่ไกลนักของวัตถุต้นกําเนิดดินที่เป็นพวกหินอัคนี เช่น บะซอลต์ แอนดีไซต์

                  พบบริเวณพื้นที่ดอน มักอยู่ใกล้กับบริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ
                  ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง เนื้อดิน






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55