Page 38 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 38
2-16
กลุมชุดดินที่ 9
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก มีเศษพืชที่กําลังเน่าเปื่อยปะปนอยู่ด้วย
พบบริเวณที่ราบลุ่มตามชายฝั่งทะเล อาจมีนํ้าทะเลหรือนํ้ากร่อยท่วมเป็นครั้งคราว สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ
ค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายนํ้าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดินเป็น
พวกดินเหนียวตลอดหน้าตัดดิน ดินชั้นบนสีเทาเข้มหรือสีเทา พบจุดประสีเหลือง หรือสีเหลืองปนแดง
ส่วนดินชั้นล่างสีเทาหรือสีเทาปนเขียวมะกอก
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรงมากและเป็นดินเค็ม
ในฤดูแล้งมีคราบเกลือลอยหน้า ปลูกพืชไม่ขึ้นจึงจัดเป็นดินมีปัญหา
กลุมชุดดินที่ 10
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก พบบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล
นํ้าแช่ขังลึก 100 เซนติเมตร นาน 6-7 เดือน สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายนํ้าเลว
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว มีสีดําหรือสีเทาแก่
ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0 ดินล่างมีเนื้อดินเป็น
ดินเหนียว มีสีเทามีจุดประสีนํ้าตาลปนเหลือง สีแดง และพบจุดประสีนํ้าตาลปนเหลืองฟางข้าวของ
สารจาโรไซต์ ภายในระดับความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีค่าความ
เป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 4.5
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก
มักขาดแร่ธาตุอาหารพืชพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในขณะเดียวกันจะมีสารละลายพวกอะลูมินั่ม
และเหล็กเป็นปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกํามะถัน
กลุมชุดดินที่ 11
กลุ่มชุดดินนี้ที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึก การระบายนํ้าเลว เกิดจาก
วัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมระหว่างตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย
ในบริเวณที่ราบลุ่มที่ห่างจากทะเลไม่มากนัก สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
0-2 เปอร์เซ็นต์ มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องในฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลในดิน
ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด ดินบนมีสีดํา
หรือสีเทาเข้ม ส่วนดินชั้นล่างสีเทา พบจุดประสีนํ้าตาล สีเหลือง และสีแดงปะปนอยู่เป็นจํานวนมาก
ในดินชั้นล่างตอนบน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซต์ ในระดับความลึกระหว่าง
50-150 เซนติเมตร
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน