Page 37 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 37

2-15






                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การระบายนํ้าเลว บางพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดนํ้า


                           กลุมชุดดินที่ 6

                           กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากพวกตะกอนลํานํ้า
                  เป็นดินลึกมาก พบตามที่ราบตั้งแต่ที่ราบนํ้าท่วมถึงลานตะพักลํานํ้าระดับตํ่า สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือ

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าเลวหรือค่อนข้างเลว มีนํ้าแช่ขัง 30-50 เซนติเมตร นาน 3-5 เดือน

                  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีเทา ดินล่างมีสีนํ้าตาลปนเทา
                  หรือสีเทา มีจุดประสีนํ้าตาลหรือสีแดง ตลอดชั้นดิน บางแห่งมีศิลาแลงอ่อน หรือก้อนสารเคมีพวกเหล็ก

                  และแมงกานีสปะปนอยู่ด้วย

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่า  บางพื้นที่ดินเป็น

                  กรดจัดมาก การระบายนํ้าเลวถึงค่อนข้างเลว

                          กลุมชุดดินที่ 7

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน
                  พวกตะกอนลํานํ้า พบในบริเวณที่ราบตะกอนนํ้าพา สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีความ

                  ลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์  มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายนํ้าค่อนข้างเลว บางพื้นที่พบในพื้นที่ค่อนข้างดอน

                  ทําให้เสี่ยงต่อการขาดแคลนนํ้า  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่  ดินมีโครงสร้างแน่นทึบ  ดินแห้งแข็ง

                  ทําให้ไถพรวนยาก การระบายนํ้าค่อนข้างเลว


                           กลุมชุดดินที่ 8

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกเนื้อดินเหนียว ดินลึกมาก มีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ
                  ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องนํ้า บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย พบบริเวณ

                  ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว  ดินมี

                  ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เป็นกลุ่มชุดดินที่มีการยกร่อง เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว
                  ดินบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องนํ้า ดินล่างมีสีเทา

                  บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วยพบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเกษตรกรได้ดัดแปลงพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผล

                  ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่ ทําให้สภาพผิวดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป
                        ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติดินเดิมก่อนมีการยกร่อง

                  โดยทั่วไปจะนําดินชั้นล่างที่มีโครงสร้างแน่นทึบ ความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมาก

                  หรือเป็นดินเค็มมาไว้ที่ผิวดินทําให้ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืชบางชนิด







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42