Page 35 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 35
2-13
2.3 ทรัพยากรที่ดิน
ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่สําคัญต่อการดํารงชีพของประชากรไทย เนื่องจาก
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ดินจึงเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยในการผลิตอาหารของมนุษย์
จากกระบวนการกําเนิดของดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับ
อินทรียวัตถุ นํ้าและอากาศจนกลายเป็นดิน ทําให้ดินแต่ละแห่งมีลักษณะต่างกันเนื่องจาก
การกําเนิดดิน ที่แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัตถุต้นกําเนิด ระยะเวลาและส่วนผสม
จากข้อมูลของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เมื่อมีการใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับดินในการเพาะปลูก ดินแต่ละแห่ง
จึงมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปในแต่ละพืชตามลักษณะของดิน
จากข้อมูลการสํารวจดินของกรมพัฒนาที่ดินที่ได้รวบรวมลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่มี
ศักยภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดินมารวมกันอยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน สามารถจําแนกออกได้ 62 กลุ่มชุดดิน
โดยมีลักษณะเด่นของแต่ละกลุ่มชุดดินแสดงในตารางที่ 2-8 รายละเอียดของกลุ่มชุดดินและปัญหา
การใช้ที่ดิน อธิบายตามรายละเอียดดังนี้
กลุมชุดดินที่ 1
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน
พวกตะกอนนํ้าพัดพามาทับถม หน้าดินแตกระแหง สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการ
ระบายนํ้าเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวจัดสีดําหรือ
สีเทาเข้ม มักพบจุดประสีนํ้าตาล และสีเหลืองปนนํ้าตาลในดินชั้นบน ส่วนดินชั้นล่างสีเทาเข้ม และมัก
พบก้อนปูนปะปนอยู่ในเนื้อดิน ในฤดูแล้งแตกระแหงเป็นร่องลึก เนื่องจากมีการยืดและหดตัวสูงเมื่อดิน
เปียกและแห้ง
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การไถพรวนลําบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัด
ต้องไถพรวนในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนนํ้าได้ง่าย
เมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ เนื่องจากนํ้าที่ขังอยู่จะซึมหายไปง่าย เมื่อดินเริ่มแห้งและแตกระแหงเป็นร่องลึก
กลุมชุดดินที่ 2
กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดิน
พวกตะกอนลํานํ้าพัดพาและตะกอนนํ้าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล
และที่ราบลุ่มภาคกลาง สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด
หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง และมีรอยไถลในดิน ดินบนมีสีเทาเข้ม ส่วนดินชั้นล่างสีเทา
และมีจุดประสีนํ้าตาล สีเหลือง และสีแดง จะพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองฟางข้าวหรือสีเหลือง
ของจาโรไซต์ อยู่เหนือชั้นดินเลน ซึ่งเป็นตะกอนที่ถูกพัดพามาทับถมโดยนํ้าทะเล มีสีเทาปนเขียว
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน