Page 84 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 84

3-2






                             นอกจากปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในแต่ละด้านที่แตกต่างกันแล้ว

                  คุณลักษณะที่แตกต่างกันของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกัน  ดินในแต่ละพื้นที่

                  ยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศซึ่งส่งผล
                  ทําให้คุณลักษณะที่ดินแตกต่างกันไปตามวัตถุต้นกําเนิดของดิน ดังนั้น คุณลักษณะที่ดินที่นํามาเป็น

                  เกณฑ์ในการแสดงค่าเพื่อชี้บ่งการเจริญเติบโตของพืช บางกรณีมีปัจจัยเด่นเพียงตัวเดียว เช่น การระบายนํ้า

                  ของดิน บางกรณีอาจมีปัจจัยเด่นหลายตัว เช่น ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร สามารถแสดงได้จากค่า

                  ของความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของพืช (C.E.C.)  หรือค่าความอิ่มตัวด้วยด่าง (B.S.) ปัจจัยเด่น
                  หลายตัวนั้นอาจส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน  รวมถึงมีการแปรผันตามสภาพแวดล้อม ทําให้การนําค่า

                  ดังกล่าวมาพิจารณาต้องมีการคาดคะเนผลจากปัจจัยร่วม (diagnostic factors)  โดยประเมิน

                  จากกลุ่มคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจํากัดรุนแรงที่สุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัจจัยการเจริญเติบโตของพืช

                  มากที่สุด เป็นตัวกําหนดระดับความเหมาะสมสําหรับความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                             ดังนั้น การกําหนดระดับความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทานตะวัน

                  กําหนดโดยอาศัยช่วงค่าความเหมาะสมจากการคาดคะเนปัจจัยร่วม  หากมีช่วงค่าความเหมาะสมมาก

                  มีผลให้ค่าพิสัยสูง แต่ค่าปัจจัยใดที่มีช่วงที่มีผลต่อการหยุดชะงักการเจริญเติบโตมีผลให้ค่าพิสัยตํ่า
                  เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชชนิดหนึ่งถูกกําหนดให้มีค่าพิสัยสูง แต่ช่วง

                  อุณหภูมิที่ทําให้พืชเจริญเติบโตช้าหรือหยุดชะงักการเจริญเติบโตถูกกําหนดให้มีค่าพิสัยตํ่าสุด

                             การกําหนดระดับค่าพิสัยของคุณภาพที่ดินสามารถกําหนดช่วงค่าความเหมาะสม
                  ออกเป็น 4 ชั้น ประกอบไปด้วย ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)

                  ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)  และชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม  (N)  โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในรูป

                  ของผลผลิตและการลงทุน สําหรับการเจริญเติบโตของทานตะวัน สามารถกําหนดระดับความต้องการ
                  ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของทานตะวันได้ ดังแสดงในตารางที่ 3-1


                        3.1.2  คุณภาพของทรัพยากรที่ดิน

                             คุณภาพที่ดิน (land quality)  คือ  คุณสมบัติของดินที่คํานึงถึงองค์ประกอบของสภาพ
                  สิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ   โดยองค์ประกอบของปัจจัยแต่ละตัวมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต

                  และผลผลิตของพืช  ในระบบของ FAO  ได้กําหนดคุณภาพที่ดินที่นํามาประเมินสําหรับการปลูกพืช

                  ในระบบไว้ 25 ชนิด สําหรับประเทศไทยคุณภาพที่ดินที่นํามาประเมินมี 13 ชนิด ได้แก่

                            1)  ความเข้มของแสง (radiation regime, u)
                           2)  ระบบอุณหภูมิ (temperature regime, t)

                           3)  ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (moisture availability, m)

                            4)  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (oxygen availability to root, o)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89