Page 81 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 81

2-67






                             จากการศึกษาสภาพการผลิตและการตลาด จะเห็นว่า พื้นที่ปลูกทานตะวันมีแนวโน้มลดลง

                  เนื่องจากเกษตรกรหันไปสนใจปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (รุ่นสอง) ซึ่งได้ผลตอบแทน

                  ดีกว่าทานตะวัน สําหรับผลผลิตรวมและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกร
                  ในพื้นที่บางส่วนได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐร่วมกับภาคเอกชนที่แนะนําการปลูกและสายพันธุ์

                  ที่ให้ผลผลิตและปริมาณนํ้ามันสูง ราคาที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ด้านการตลาดยังมี

                  ความต้องการสูงสําหรับผลิตภัณฑ์ทานตะวันทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ

                  โดยเฉพาะนํ้ามันทานตะวันในตลาดประเทศไทยจัดเป็นนํ้ามันพืชเกรดพิเศษ (พรีเมี่ยม) เช่นเดียวกับ
                  นํ้ามันมะกอก นํ้ามันคาโนลา และนํ้ามันรําข้าว (เกรดพิเศษ) ซึ่งนํ้ามันเกรดนี้มีสัดส่วนตลาด

                  ภายในประเทศเพียงร้อยละ 5 ของมูลค่าตลาดนํ้ามันพืช เนื่องจากนํ้ามันพืชพรีเมี่ยมเป็นสินค้า

                  ที่มีตลาดเฉพาะกลุ่มแต่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมแปรรูป

                  อาหารที่ปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์มาใช้นํ้ามันพืชในกลุ่มนํ้ามันพืชพรีเมี่ยมเป็นส่วนผสมในอาหาร
                  (แทนนํ้ามันปาล์มและนํ้ามันถั่วเหลือง) ประกอบกับกระแสการรักสุขภาพของผู้บริโภคที่มีความต้องการ

                  ใช้นํ้ามันทานตะวันประกอบอาหารในครัวเรือนมากขึ้น เนื่องจากนํ้ามันจากเมล็ดทานตะวันเป็นนํ้ามัน

                  ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูงซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ จากคุณสมบัติดังกล่าว
                  นํ้ามันทานตะวันจึงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเพื่อนําไปใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร

                  ที่มีคุณภาพและบริโภคในครัวเรือน จึงเห็นว่า เกษตรกรในประเทศไทยควรหันมาสนใจปลูก

                  ทานตะวันเป็นพืชครั้งที่ 2 หลังจากปลูกพืชหลักแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตที่สําคัญ
                  เพราะนอกจากทานตะวันจะเป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องดูแลรักษามาก และอายุการปลูกสั้นแล้ว ยังได้รับ

                  การส่งเสริมจากภาครัฐและภาคเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาพันธุ์และแนะนํา

                  ให้เกษตรกรใช้สายพันธุ์ที่ให้นํ้ามันคุณภาพดีมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นที่ต้องการของตลาด
                  ต่างประเทศมากและให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยไร่ละ 200-220 กิโลกรัม รวมทั้งมีหลักประกันทางการตลาด

                  ที่แน่นอน โดยภาคเอกชนรับซื้อในราคาประกันตามข้อตกลงภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูก

                  ทานตะวันครบวงจร ซึ่งเป็นโครงการนําร่องพื้นที่ดําเนินการ 75,000 ไร่ ในจังหวัดลพบุรี สระบุรี

                  นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ ระหว่างปี 2551-2553 โครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากเกษตรกร
                  และประสบความสําเร็จ (สุรัตน์, 2555) ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการนําร่องแล้ว เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

                  ในพื้นที่เป้ าหมายและเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ควรสนใจมาปลูกทานตะวันเป็นพืชครั้งที่ 2 ต่อไป ทั้งนี้

                  นอกจากเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรอีกด้วย














                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86