Page 83 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 83

บทที่ 3

                                        การวิเคราะห์เพื่อกําหนดเขตการใช้ที่ดิน


                        การประเมินคุณภาพที่ดิน (qualitative land evaluations) เป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วย

                  ทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมิน

                  คุณภาพที่ดินในหลักการของ FAO framework สามารถทําได้ 2 รูปแบบ
                        รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการประเมินเชิงกายภาพ

                  ว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ

                        รูปแบบที่สอง  การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ  ซึ่งให้ค่าตอบแทนในรูปผลผลิต
                  ที่ได้รับ จํานวนเงินในการลงทุนและจากผลตอบแทนที่ได้รับ

                        ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเท่านั้น


                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ


                        3.1.1  ระดับความต้องการปัจจัยสําหรับพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                             จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพืชในพื้นที่ต่างๆ พบว่า พืชมีความต้องการปัจจัย

                  และสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน นอกจากความต้องการด้านพืชแล้ว เกษตรกรแต่ละรายมีการใช้
                  เครื่องจักร สารเคมี แรงงาน เทคโนโลยีหรือเงินทุนที่แตกต่างกัน ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญต่อพืช

                  สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

                          1)  ความต้องการด้านพืช (crop requirements) ประกอบด้วยความเข้มของแสง อุณหภูมิ
                  ปริมาณนํ้าฝนหรือความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโต การระบายนํ้าที่เหมาะสม ปริมาณธาตุอาหารพืช

                  ในดิน ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และความอิ่มตัวด้วยด่าง

                             2)  ความต้องการด้านการจัดการ (management requirements) สภาวะการเขตกรรม และ

                  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร ได้แก่ ทานตะวันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ดอน หากเกษตรกร
                  ที่มีพื้นที่เป็นที่ลุ่มต้องการปลูกทานตะวัน ต้องทําการยกร่องเพื่อไม่ให้มีนํ้าขัง ดังนั้นศักยภาพการใช้

                  เครื่องจักรและสภาวะการเขตกรรมจึงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของพืช

                             3) ความต้องการด้านการอนุรักษ์ (conservation  requirements)  เป็นปัจจัยที่มีผล
                  ต่อการเจริญของพืชในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ซึ่งมีโอกาสที่ดินเกิดการชะล้างพังทลายได้สูงจากอิทธิพล

                  ของดินและนํ้า ส่งผลให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง รวมถึง

                  ปริมาณตะกอนที่ไหลลงสู่ที่ลุ่มอันมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอีกทางหนึ่ง








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88