Page 26 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
P. 26

2-12






                        ปัญหาสําคัญในการใช้ที่ดิน ได้แก่ โครงสร้างของดินแน่นทึบ ดินแห้งแข็ง ทําให้ยากต่อการไถพรวน

                  ขาดแคลนนํ้าแต่จะมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝน

                        กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วย 8 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                           หน่วยที่ดิน 7 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบและมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว

                           หน่วยที่ดิน 7d3 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว และมีความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน
                           หน่วยที่ดิน 7f  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าเลว และเป็นพื้นที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน

                           หน่วยที่ดิน 7hi  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว และพบบนพื้นที่ดอน
                           หน่วยที่ดิน 7M คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าดีปานกลาง และมีการจัดการพื้นที่เพื่อให้สามารถปลูกไม้ผลได้

                           หน่วยที่ดิน 7nb  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าดีปานกลาง และไม่มีคันนา

                           หน่วยที่ดิน 7sa  คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว และมีคราบเกลืออยู่ที่ผิวดิน
                           หน่วยที่ดิน 7B คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด

                  เล็กน้อยและมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว


                        กลุ่มชุดดินที่ 8
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่มีการยกร่อง เนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลวหรือดีปานกลาง ดินบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ

                  ของดินและอินทรียวัตถุที่ได้จากการขุดลอกร่องนํ้า ดินล่างมีสีเทา บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ด้วย
                  พบในบริเวณพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเกษตรกรได้ดัดแปลงพื้นที่เพื่อใช้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นหรือพืชไร่ ทําให้

                  สภาพผิวดินเดิมเปลี่ยนแปลงไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินไม่แน่นอน

                  ขึ้นอยู่กับสมบัติของดินเดิมก่อนยกร่อง แต่ส่วนใหญ่ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่า

                  ความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-7.0
                        ดินในกลุ่มนี้ได้รับการปรับปรุงบํารุงดินเป็นอย่างดีและได้ทํามานานแล้ว จึงถือว่าไม่มีปัญหา

                  แต่ประการใดในเรื่องคุณภาพของดิน แต่สําหรับดินตามชายทะเลบางแห่งซึ่งยกร่องใหม่อาจมีปัญหา








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31