Page 30 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
P. 30

2-16






                        กลุ่มชุดดินที่ 14

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเล

                  แล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบในบริเวณที่ลุ่มตํ่าชายฝั่งทะเลหรือบริเวณพื้นที่พรุ สภาพพื้นที่

                  ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีนํ้าแช่ขังนานในรอบปี เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวมาก มีเนื้อดิน
                  เป็นพวกดินเหนียวหรือดินร่วนละเอียด ดินบนมีสีดําหรือสีเทาปนดํา ซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ดินล่าง

                  มีสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีนํ้าตาลปะปนอยู่เล็กน้อย ดินช่วงล่างระหว่างความลึก 50-100

                  เซนติเมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนเขียวที่มีสารประกอบกํามะถันมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์
                  ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง

                  4.0-4.5

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมาก อีกทั้งจะเป็นกรดเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

                  ถ้าหากมีการทําให้ดินแห้งเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ในช่วงฤดูเพาะปลูกมักมีปัญหาเรื่อง
                  นํ้าท่วมเกิดขึ้นเสมอๆ

                        กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วย 3 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 14 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 14
                           หน่วยที่ดิน 14o คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 14 ดินบนเป็นดินอินทรีย์

                           หน่วยที่ดิน 14x คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 14 พบชั้นดินเลนของตะกอนนํ้า

                  ทะเลที่ไม่มีศักยภาพก่อให้เกิดกรดกํามะถัน

                        กลุ่มชุดดินที่ 15

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้า พบบริเวณที่ราบตะกอนนํ้าพา

                  มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย เป็นดินลึก มีการระบายนํ้า
                  ค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ ง ดินบน

                  มีสีนํ้าตาลปนเทา ดินล่างสีนํ้าตาลหรือสีเทาปนชมพู พบจุดประสีเหลืองหรือสีนํ้าตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน

                  ในดินชั้นล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็กและแมงกานีส ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ

                  ปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงด่างเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.0-7.5
                        ปัญหาสําคัญในการใช้ที่ดิน ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าและหน้าดินแน่นทึบ

                        กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วย 5 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 15 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 15 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง
                  ค่อนข้างราบเรียบและมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว

                           หน่วยที่ดิน 15d3 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 15 มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึง

                  ค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว และมีความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35