Page 21 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
P. 21
2-7
2.3 ทรัพยากรที่ดิน
ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญในการผลิตและเป็นรากฐานของความเป็นอยู่
ในการดํารงชีวิตของมนุษย์ ประเทศที่มีทรัพยากรดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ย่อมทําให้สังคมและการดําเนินชีวิต
ของประชากรดี ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักในการผลิตอาหาร
ของประเทศ ดินเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ต่างๆ มารวมตัวหรือทับถมแล้วผสมคลุกเคล้า
กับอินทรียวัตถุตามกระบวนการทางธรณีวิทยา โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณ
และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ชนิดของวัตถุต้นกําเนิดดินและระยะเวลาของการเกิด จนเกิดเป็นดิน ดินที่เกิดในบริเวณต่างกัน
อาจมีลักษณะและสมบัติทางกายภาพและเคมีแตกต่างกัน เช่น เนื้อดิน สีดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง
แร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ และปริมาณอินทรียวัตถุ เป็นต้น ทําให้ดินในแต่ละพื้นที่มีความเหมาะสม
ต่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน
จากข้อมูลการสํารวจดินของกรมพัฒนาที่ดินที่ได้รวบรวมลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่มี
ศักยภาพในการใช้ที่ดินมารวมกันอยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน สามารถจําแนกออกได้ 62 กลุ่มชุดดิน
นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นหน่วยที่ดินตามแต่ละกลุ่มชุดดิน ลักษณะและสมบัติต่างๆของดิน เช่น
ความลาดชันของพื้นที่ สภาพการใช้ที่ดิน อันตรายจากการถูกนํ้าท่วม ความเป็นกรดจัดของดิน การมีคราบเกลือ
ปรากฏอยู่บนผิวดิน และลักษณะอื่นๆ เป็นต้น มีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มชุดดินที่ 1
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้า ในบริเวณเทือกเขาหินปูนหรือหินภูเขาไฟ
มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวมาก
ถึงดีปานกลาง มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง และมีรอยไถลในดิน
สีดินส่วนมากเป็นสีดําหรือสีเทาแก่ มีจุดประสีนํ้าตาล สีเหลือง และอาจพบจุดประสีแดงบ้างปะปน
ตลอดชั้นดิน ส่วนดินชั้นล่างมักมีก้อนปูนปะปน ปฏิกิริยาดินส่วนใหญ่เป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 6.5-8.0 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง
ปัญหาสําคัญในการใช้ที่ดิน ได้แก่ การไถพรวนลําบาก เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัดต้องไถพรวน
ในช่วงระยะเวลาที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนนํ้าได้ง่ายเมื่อฝนทิ้งช่วง
นานกว่าปกติ เนื่องจากนํ้าที่ขังอยู่จะซึมหายไปง่าย เมื่อดินเริ่มแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องลึก
กลุ่มชุดดินนี้ประกอบด้วย 4 หน่วยที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วยที่ดิน 1 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 1 มีการระบายนํ้าเลว
หน่วยที่ดิน 1f คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 1 มีการระบายนํ้าเลวมากและเป็น
พื้นที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน