Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
P. 11
บทที่ 1
บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล
กล้วยเป็นผลไม้ใกล้ตัวที่มีให้รับประทานได้ทั้งดิบและสุก แต่ส่วนใหญ่นิยมรับประทานผลสุก
มากกว่าเนื่องจากมีรสหวานและอุดมไปด้วยนํ้าตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ฟรักโทส ซูโครส และกลูโคส
กล้วยสุกมีคุณสมบัติเฉพาะด้าน คือ มีฤทธิ์เป็นกรดในลําไส้ ช่วยให้เกลือแร่และแคลเซียมถูกดูดซึมได้ง่าย
ถือว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่าจากธัญพืชอื่นๆ โดยกล้วยสุก 1 ผล มีคาร์โบไฮเดรต 22 เปอร์เซ็นต์
มีสารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียมในปริมาณสูง ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่มีความสําคัญต่อร่างกาย
ช่วยทําให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทํางานได้ดี และยังช่วยในการทํางานของสมอง ทําให้สมอง
ได้รับออกซิเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 บี 6
และบี 10 วิตามินซี โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กล้วยหอมมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมากกว่ากล้วยชนิดอื่น หากรับประทานกล้วยหอม 100 กรัม จะได้รับ
พลังงาน 130 แคลอรี่ กล้วยหอมสุกจะมีสารที่ทําให้เกิดกลิ่นหอม คือ amly scetatea โดยผลสุกใช้เป็นอาหาร
กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก ช่วยบรรเทา
อาการปวดท้องก่อนหรือขณะมีประจําเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือ
แม้กระทั่งช่วยบรรเทาอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุราหรือของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม
1-2 คํา ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังบรรเทาอาการแพ้ท้องได้ ส่วนผลดิบสามารถป้ องกันแผล
กระเพาะอาหาร สมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยทําให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารแบ่งตัวดีขึ้น
ซ่อมแซมแผลที่อักเสบได้เร็วขึ้น ช่วยกระจายการเกาะตัวของเลือด ช่วยแก้โรคท้องเสีย
กล้วยหอมเป็นพืชล้มลุก ขนาดความสูง 2.5 เมตร ปลูกง่าย ชอบอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น
ดินควรเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายนํ้าดี ปกติจะมีผลผลิตกล้วยหอมออกจําหน่ายตลอดปี
ปัจจุบันมีการส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศมากขึ้น โดยตลาดที่สําคัญ คือ ประเทศญี่ปุ่ น
สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (กรมส่งเสริม
การเกษตร, ม.ป.ป.)
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากล้วยหอมเป็นพืชที่มีความสําคัญชนิดหนึ่ง จึงได้จัดทําเขต
การใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอมขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งในการบริหารจัดการที่เหมาะสม
รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการกําหนดบริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความสําคัญกับ
ลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน