Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
P. 10
(8)
อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ โดยการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม
มีเงื่อนไขหลัก คือ ต้องเป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย (เขตพื้นที่
ป่าไม้ตามกฎหมาย ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า)
และเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยหอมอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับ
การปลูกกล้วยหอม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นที่มีความเหมาะสม
ปานกลาง (S2) และชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ
กล้วยหอมได้เป็น 3 เขต คือ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) เขตการใช้ที่ดินที่มี
ความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) และเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีเนื้อที่
52,537 1,084 และ 10,713 ไร่ (หรือร้อยละ 81.66 1.69 และ 16.65ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยหอม) และมีผลผลิตคาดการณ์ 146,105 2,283 และ 28,829 ตัน
ตามลําดับ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
และภาคเหนือ ตามลําดับ โดยจังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ในเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยหอมมากที่สุด พื้นที่ที่มีศักยภาพลําดับต้นจะอยู่ในเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยหอมที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) ให้มีมาตรการด้านการผลิตในการผลิต
กล้วยหอม เน้นการผลิตตามระบบ GAP (Good Agricultural Practice) GMP (Good
Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points)
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาตรการด้านการแปรรูปในการผลิตสินค้า
ให้หลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในทุกเพศทุกวัย มาตรการ
ด้านการตลาดในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อกระจายผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการขยายตลาดส่งออกทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ เพื่อกระจายผลผลิตสู่ทุกภูมิภาค
ของโลก
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยหอม สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน