Page 48 - mize
P. 48

3-18






                            1) นโยบายเศรษฐกิจภาคการเกษตร

                              โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังคงต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าและการลงทุน
                  จากต่างประเทศอย่างมาก จึงมีความเสี่ยงสูงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อีกทั้ง ยังไม่ได้รับ
                  ผลตอบแทนอย่างเต็มที่จากการผลิตและการใช้ทรัพยากรของประเทศ การส่งออกสินค้าเกษตรยังคง

                  เป็นการส่งออกวัตถุดิบที่ราคาผันผวนขึ้นกับตลาดโลก ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปสู่โครงสร้าง
                  เศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ส าคัญ
                  ของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน จึงมีนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              1.1)  นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร
                                  - ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการ

                  สื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
                                  - เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนา
                  เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์

                  การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้
                  พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด
                  ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
                                  - เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็ง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ

                  การเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิต
                  และการจ าหน่ายล่วงหน้าที่แม่นย า และประสานโครงสร้างพื้นที่ฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิด
                  ประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน
                                  - จัดท าระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือน

                  ครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตส าหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
                  เพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการ
                  ประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการท างานของภาครัฐ
                  ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่

                  เกษตรกรทั่วไป
                                  - เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ
                  สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ

                  ทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และด าเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ท าหน้าที่สนับสนุน
                  การส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์
                  และการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืช
                  พลังงาน เช่น ถั่วเหลืองฤดูแล้ง อ้อย มันส าปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้า
                  ใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่าง

                  ต่อเนื่อง
                                  - พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
                  โดยการส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่มีก าไรสูง มีการแปรรูปอย่างครบวงจรเพื่อแสวงหามูลค่าเพิ่มสูงสุด

                  พัฒนาระบบตลาดทุกขั้นตอน ยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53