Page 47 - mize
P. 47
3-17
3.2 นโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทส าคัญต่อภาคปศุสัตว์ในประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยมี
ผลผลิตประมาณปีละ 4.0-4.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าปีละประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยผลผลิต
มากกว่าร้อยละ 90 ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์และใช้เลี้ยงสัตว์ ถึงแม้จะมีความต้องการใช้
ผลผลิตปริมาณมากแต่ในฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปีจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันมากเกินความต้องการ
ของตลาด ส่วนนอกฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตกลับมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรจึงประสบปัญหา
ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว
ดังนั้นภาครัฐจึงเข้าไปดูแลและด าเนินการเพื่อให้เกษตรกรสามารถชะลอการจ าหน่ายผลผลิต
และน าออกมาจ าหน่ายในภายหลัง ท าให้เกษตรกรจ าหน่ายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม
และคุ้มค่ากับการลงทุน โดยค านึงถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งระบบด้วย เช่น ผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้เลี้ยงสัตว์
พ่อค้า ไซโล รวมทั้งผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออกเนื้อสัตว์ และเนื่องจากประเทศไทยต้องเปิดเสรี
การค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการน าเข้าสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตามที่มีการผูกพันภายใต้
ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐที่มี
ส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึงกรมพัฒนาที่ดินจึงได้มีนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน ทั้งทางด้านการบริหาร
จัดการทางด้านกายภาพ ทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้การเกิดความพึงพอใจทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค
ราคาไม่มีเสถียรภาพเนื่องจากผลผลิตภายในประเทศส่วนใหญ่เพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
และเก็บเกี่ยวในช่วงฝนตกชุก ผลผลิตคุณภาพต่ า ความชื้นสูงและประดังออกสู่ตลาด ประกอบกับ
มีผลผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีราคาต่ ากว่าเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเดียวกันส่งผลให้อุปทาน
ในประเทศมีมากกว่าความต้องการใช้ท าให้ราคาตกต่ า
จากยุทธศาสตร์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของภาครัฐ ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้สอดคล้อง
กับความต้องการใช้ในประเทศ และรองรับความต้องการของตลาดในต่างประเทศ โดยการเพิ่มปริมาณ
ผลผลิตเป็น 6.18 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2562 และเป็น 7.4 ล้านตัน ในปี พ.ศ.2569 และลดพื้นที่ป่า
เป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่เหมาะสมในเขตชลประทาน
การกระจายการผลิต เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตกระจุกตัว ความชื้นสูง คุณภาพต่ า และเกษตรกรขาย
ผลผลิตได้ในราคาต่ าควรปรับสัดส่วนพื้นที่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันให้ผลผลิตออกสู่ตลาด
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสัดส่วนพื้นที่ปลูกต้นฝน : ปลายฝน : แล้ง จาก 63 : 32 : 5 เป็น
37 : 36 : 27
3.2.1 นโยบายรัฐบาล
ในด้านเกษตรกรรม ด าเนินการใน 2 เรื่องใหญ่ คือ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร
ให้สอดคล้องกับความต้องการด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งเขตเพื่อปลูกพืชผลแต่ละชนิด และการสนับสนุน
ให้สหกรณ์ของกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มบทบาทในฐานะผู้ซื้อพืชผลจนถึงการแปรรูป
และการส่งออกได้ แล้วแต่กรณี เพื่อให้สหกรณ์เป็นผู้ค้าขายสินค้าเกษตรรายใหญ่อีกรายหนึ่ง ซึ่งจะ
ช่วยค้านอ านาจของกลุ่มพ่อค้าเอกชนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีความสมดุลมากขึ้น
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน