Page 105 - mize
P. 105

4-47






                            2) เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ า เพื่อการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแต่ละพื้นที่

                  ตามความเหมาะสมด้วยการสร้างแหล่งน้ าให้เพียงพอ และขยายระบบชลประทานให้ทั่วถึงพร้อมทั้งต้อง
                  มีน้ าเพียงพอในช่วงเพาะปลูก โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                        4.3.4 มาตรการด้านการตลาดและการรวมกลุ่มเกษตรกร

                              1) มีมาตรการส่งเสริมเชื่อมโยงการค้าระหว่างสถาบันเกษตรกรกับอุตสาหกรรมอื่นที่ใช้
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบ และหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่แน่นอนให้กับเกษตรกร
                              2) มีมาตรการสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มความสามารถ
                  ในการแข่งขัน และเพิ่มอ านาจในการต่อรองราคาผลผลิต โดยเฉพาะสินค้าสินค้าเกษตรที่ได้รับโอกาส
                  จากข้อตกลงการค้าเสรี

                        4.3.5 มาตรการด้านกฎหมาย
                              เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง
                  พบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บางพื้นที่อยู่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย

                  (19,359 ไร่) จึงควรมีมาตรการเพื่อรองการจัดการในพื้นที่ดังกล่าว เช่น
                              1) มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยใช้มาตรการตามมติคณะรัฐมนตรี
                  เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง “มาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้” ในส่วนที่
                  เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีมติยืนยันไม่ให้น าพื้นที่ดังกล่าวไปปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ทั้งนี้ให้กรม

                  ป่าไม้ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองพื้นที่ในเขตดังกล่าวให้ชัดเจน ห้ามมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติม และ
                  รับรองสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย แต่ถ้าพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการคุกคามระบบนิเวศต้องท าการช่วยเหลือให้
                  ราษฎรมีที่อยู่อาศัยและที่ท ากินแห่งใหม่ หรือย้ายออกไปอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม โดยรัฐบาลจะ
                  สนับสนุนด้านสาธารณูปโภคและการฝึกอาชีพ และพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้ด าเนินการฟื้นฟูด้วย

                  การปลูกป่าทดแทน
                              ส่วนกรณีที่ราษฎรอาศัยอยู่หลังวันประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้กรมป่าไม้
                  เคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปอยู่ในพื้นที่รองรับที่จัดไว้ โดยมีการสนับสนุนด้าน
                  สาธารณูปโภค การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการรับรองสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย หากยังไม่สามารถ

                  เคลื่อนย้ายได้ทันทีให้ควบคุมมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่ม โดยต้องจัดระเบียบที่อยู่อาศัยและที่ท ากินให้
                  เพียงพอต่อการด ารงชีพ และพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้ด าเนินการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่าทดแทน ใน
                  กรณีที่ต้องจัดท าขอบเขตที่ท ากินให้กับราษฎรตามผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองในพื้นที่

                  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าเป็นพิเศษส าหรับพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชันสูงและเป็นดินตื้น
                              2) ใช้มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 เรื่องมาตรการด้านการป้องกันรักษา
                  และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2551-2552
                              3) ใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หมวด 2 เรื่องการควบคุม และรักษา

                  ป่าสงวนแห่งชาติ
                              4) ยึดการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จัดท าบนพื้นฐาน
                  ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และเป้าหมาย

                  การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทย





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110