Page 28 - mangosteen
P. 28
2-6
เกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝนโดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือน
กันยายน ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน พื้นที่ที่มีปริมาณ
ฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า4,166.4 มิลลิเมตร
ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย ได้แก่ ภาคกลางด้านหลังทิวเขาตะนาวศรีบริเวณจังหวัดเพชรบุรีและ
ประจวบคีรีขันธ์
2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจ านวนไอน ้าที่มีอยู่ในอากาศต่อจ านวน
ไอน ้าที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงก าหนดเป็นเรือนร้อยโดยให้
จ านวนความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศ
ร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี เว้นแต่บริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินตั้งแต่ภาคกลางขึ้นไปความชื้น
สัมพัทธ์จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนโดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์
ลดลงต ่าสุดในรอบปีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ภาคใต้มีค่า 80.2 เปอร์เซ็นต์
ภาคกลางมีค่า 73.6 เปอร์เซ็นต์ ภาคเหนือมีค่า 74.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกมีค่า 76.0 เปอร์เซ็นต์
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่า 71.8 เปอร์เซ็นต์
2.2.5 อุณหภูมิ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนสภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือมีค่า 26.23 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีค่า 26.82 องศาเซลเซียส ภาคกลางมีค่า 28.26 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกมีค่า 27.91 องศาเซลเซียส
และภาคใต้มีค่า 27.37 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในพื้นที่และ
ฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลางและภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึง
ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวและระหว่างกลางวันกับกลางคืน
ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวัน
และฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าที่ซึ่งอยู่ลึกเข้า
ไปในพื้นดิน(ตารางที่ 2-1)