Page 98 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 98

3-20






                  ปัจจุบัน (Net Present Value : NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการซึ่งในการศึกษาครั้งนี้

                  ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 7.00 บาทต่อปี เป็นอัตรา

                  คิดลด (Discount Rate) แล้วหาค่าผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีด้วยการปรับค่ามูลค่าปัจจุบันของต้นทุน
                  รายได้ (มูลค่าผลผลิต) และผลตอบแทน โดยการคูณด้วยตัวกอบกู้ทุน (Capital Recovery Factor :

                  CRF) ที่อัตราดอกเบี้ย (i) เท่ากับร้อยละ 7.00 ต่อปี ค านวณในระยะเวลา 15 ปี นอกจากหลักการ

                  หามูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนแล้วได้ใช้ค่าอัตราส่วนรายได้ (มูลค่าผลผลิต)

                  ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit cost ratio : B/C ratio) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่แสดงถึงอัตราส่วนระหว่างมูลค่า
                  ปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีของรายได้ (มูลค่าผลผลิต) กับต้นทุนทั้งหมดตลอดช่วงปีที่ท าการผลิต ค่า B/C

                  สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) และเปรียบเทียบผลได้หรือผลตอบแทน

                  ที่ได้รับจากการลงทุนที่เท่ากันได้ กล่าวคือ การผลิตที่มีค่า B/C มากกว่า 1 จะแสดงให้เห็นว่าการผลิตนั้น

                  ให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไปและย่อมดีกว่าการผลิตหรือการลงทุนที่มีค่า B/C น้อยกว่า 1
                  จุดคุ้มทุนหรือปีที่คุ้มทุน ใช้บอกระยะคืนทุน (Payback Period) โดยเป็นระยะที่ผลตอบแทนสุทธิ

                  จากการผลิตมีค่าเท่ากับต้นทุนในการผลิตซึ่งจากตารางมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและ

                  ผลตอบแทนการผลิตมะม่วงจุดคุ้มทุนเป็นปีที่ผลตอบแทนสะสมมีค่าเป็นบวก และเมื่อท าการผลิต
                  ต่อไปผลตอบแทนที่ได้จะเป็นก าไรสะสมในปีต่อๆ ไป การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้

                  ท าให้ทราบข้อมูลด้านต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจซึ่งมีความส าคัญต่อเกษตรกรในฐานะ

                  ผู้ประกอบการโดยจะเป็นข้อมูลให้ทราบถึงสถานะทางเศรษฐกิจที่จะตัดสินใจท าการผลิตหรือ
                  ด าเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและ

                  ก าหนดเขตการผลิตต่อไป นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการผลิตพืชชนิดอื่น

                  ที่ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยหลักการเดียวกัน
                        การผลิตมะม่วง ปีการผลิต 2559/60 ท าการส ารวจการผลิตมะม่วงในพื้นที่ (จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ สุโขทัย ชัยภูมิ นครราชสีมา

                  ขอนแก่น และอุดรธานี) พบว่าเกษตรกรที่เป็นตัวอย่างในการส ารวจปลูกมะม่วงพันธุ์น ้าดอกไม้สีทอง

                  น ้าดอกไม้เบอร์ 4 และเขียวเสวย เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการและมีราคาสูง ท าให้เกษตรกรปลูก
                  กันมากอีกทั้งสามารถท าได้ทั้งในฤดูและนอกฤดู เป็นที่นิยมบริโภคทั้งสุก และดิบ เมื่อสุกจะมีรสชาติ

                  หวานอมเปรี้ยว การวิเคราะห์ข้อมูลด้านการผลิตและผลตอบแทนแยกตามพื้นที่ที่ส ารวจ














                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103