Page 97 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 97

3-19







                   3.3  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                        การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของการผลิตมะม่วง ท าการวิเคราะห์ด้าน ต้นทุน

                  รายได้และผลตอบแทนจากการผลิต รวมทั้งปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือจากรัฐและทัศนคติ
                  ในการผลิตมะม่วงของเกษตรกร ในส่วนของต้นทุน รายได้และผลตอบแทนจากการผลิต แบ่งการวิเคราะห์

                  ตามช่วงอายุของมะม่วงและความเหมาะสมด้านกายภาพของพื้นที่ส าหรับปลูกมะม่วง กล่าวคือ ช่วงอายุ

                  ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (ปีที่ 1 และ ปีที่ 2-3) ช่วงอายุที่ให้ผลผลิต (ปีที่ 4-6 ปีที่ 7-9 และมากกว่า ปีที่ 9 ขึ้นไป)
                  ความเหมาะสมด้านกายภาพของพื้นที่ปลูกมะม่วงแบ่งเป็ น 3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ที่มีระดับ

                  ความเหมาะสมสูง (S1) พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) และพื้นที่ที่มีระดับความ

                  เหมาะสมเล็กน้อย (S3) โดยช่วงที่ให้ผลผลิตแบ่งการวิเคราะห์ต้นทุน รายได้และผลตอบแทน

                  ตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่และรายพันธุ์ ส่วนช่วงที่ยังไม่ให้ผลผลิต รวมทั้งปัญหา
                  ความต้องการความช่วยเหลือและทัศนคติของเกษตรกรแบ่งการวิเคราะห์ตามระดับความเหมาะสม

                  ของพื้นที่และรายพันธุ์ ราคาผลผลิตที่น ามาค านวณมูลค่าผลผลิต (รายได้) ใช้ราคาเฉลี่ยจากที่ส ารวจได้

                  ราคาเดียว คือ มะม่วงทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.65 บาท โดยแบ่งออกเป็นพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ มะม่วง
                  น ้าดอกไม้สีทอง (ขายกิโลกรัมละ 46.44 บาท ) มะม่วงน ้าดอกไม้เบอร์ 4 (ขายกิโลกรัมละ 27.76 บาท )

                  และมะม่วงเขียวเสวย (ขายกิโลกรัมละ 27.03 บาท) เพื่อก าจัดปัญหาตัวแปรด้านราคาที่แตกต่างกัน

                  ตามสถานที่และระยะเวลาการผลิต
                        ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตจ าแนกเป็น 2 ประเภท คือต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่

                  ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อท าการผลิตและจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต

                  ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปลูก (พันธุ์และแรงงาน เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายในการบ ารุงรักษา (ค่าปุ๋ ย

                  สารป้องกันและก าจัดวัชพืช ศัตรูพืช ค่าแรงงาน เป็นต้น) ต้นทุนคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นคงที่แม้จะ
                  ไม่ท าการผลิตก็ต้องมีค่าใช้จ่ายจ านวนนี้ ได้แก่ ค่าเช่าที่ดิน ค่าใช้ที่ดิน ค่าภาษีที่ดิน และค่าเสื่อม

                  อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ต้นทุนที่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่เป็นตัวเงินที่เกษตรกรจ่ายไปจริงในการซื้อหรือ

                  จ้างปัจจัยในการผลิต ต้นทุนที่ไม่เป็นเงิน เป็นต้นทุนที่คิดจากมูลค่าของปัจจัยที่เกษตรกรใช้ในการ

                  ผลิตโดยเกษตรกรเป็นเจ้าของปัจจัยหรือได้มาโดยไม่ได้คิดเป็นตัวเงิน ได้แก่ ค่าแรงงานคน
                  ในครัวเรือน ค่าแรงงานเครื่องจักรของตนเอง ค่าใช้ที่ดินของตนเอง เป็นต้น ผลตอบแทนจากการผลิต

                  จะพิจารณาจากผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงิน ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรและผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนทั้งหมด รวมทั้งอัตราส่วนรายได้ (มูลค่าผลผลิต) ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C ratio)
                  เพื่อเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นถึงรายได้ที่ได้รับจากการลงทุนที่เท่ากัน

                        เนื่องจากมะม่วงเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุการผลิตมากกว่า 1 ปี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทน

                  จึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์หลักการประเมินโครงการ โดยใช้หลักการหามูลค่า





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102