Page 146 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 146

4-14







                            3)  พัฒนาระบบฐานข้อมูลไม้ผล จัดท าทะเบียนเกษตรกรและฐานข้อมูลการผลิตที่
                  ถูกต้อง ตลอดจนพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การตลาด การแปรรูป และการ

                  ส่งออกผลไม้ไทยทั้งระบบ ให้มีข้อมูล (data) ครบถ้วนทุกด้าน ถูกต้องทันเหตุการณ์และเป็นเอกภาพ

                        4.3.3  มาตรการด้านการแปรรูป
                            1)  พัฒนาระบบมาตรฐานการตรวจสอบ การรับรองคุณภาพ การผลิตสินค้าที่ปลอดภัย

                  การตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการผลผลิตทั้งก่อน – หลัง การเก็บเกี่ยวอย่าง

                  ถูกวิธี เพื่อลดความเสียหายจากการผลิต เช่น วิธีการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการ
                  รักษาคุณภาพ เป็นต้น

                            2)  ส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้า เพื่อเป็นการสร้างความแตกต่างและยกระดับสินค้า

                  ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค

                        4.3.4  มาตรการด้านการตลาด
                            1)  เพิ่มประสิทธิภาพตลาดกลางในแหล่งผลิต เพื่อจะเป็นศูนย์รวมผลผลิตของเกษตรกร

                  และเป็นแหล่งพบปะของผู้ซื้อผลผลิตและเกษตรกรในแหล่งผลิต

                            2)  รณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยตามฤดูกาล
                            3)  ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายสินค้าไปยังจังหวัดนอกแหล่งผลิต

                            4)  สนับสนุนการเปิดตลาดส่งออกมะม่วงใหม่ รักษาและขยายตลาดส่งออกเดิม โดยการ

                  ประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยในต่างประเทศผ่านทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชน


                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ


                        จากการศึกษาเพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วงสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนา
                  ผลไม้ไทย พ.ศ. 2558-2562 และการคาดการณ์ผลผลิตมะม่วงทั้งหมดในปี 2557 นั้น สามารถก าหนด

                  เขตการใช้ที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด

                  และภาคตะวันออก 3 จังหวัด รวมเป็นเนื้อที่ 708,181 ไร่ ซึ่งไม่รวมพื้นที่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมายและ
                  พื้นที่มีความลาดชันเชิงซ้อน

                        เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) มีเนื้อที่ 308,518 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสม

                  ทางด้านกายภาพและการจัดการที่ ควรยกระดับผลผลิตเฉลี่ยให้ได้ 1,500 – 1,700กิโลกรัมต่อไร่
                        เขตการใช้ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) มีเนื้อที่ 311,483 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีความ

                  เหมาะสมทางด้านกายภาพปานกลาง ควรยกระดับผลผลิตเฉลี่ยให้ได้ 900 – 1,100 กิโลกรัมต่อไร่












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151