Page 145 - เขตการใช้ที่ดินพิชเศรษฐกิจมะม่วง
P. 145

4-13








                  4.3  มาตรการด าเนินงานเพื่อส่งเสริมการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง


                        ในการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถน าไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง จึง
                  ต้องมีการก าหนดมาตรการในการด าเนินการในพื้นที่เพื่อส่งเสริมการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืช

                  เศรษฐกิจมะม่วงอย่างเหมาะสม ใช้เป็นกรอบด าเนินงานในการวางแผนการผลิตและการตลาด ส าหรับ

                  การบริโภคภายในประเทศ การส่งออก ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมาตรการในการ
                  ด าเนินงานนี้ควรจะมีการด าเนินงานแบบบูรณาการและเป็นองค์รวม ให้ความส าคัญตั้งแต่การผลิต

                  การควบคุมคุณภาพการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการแปรรูปผลผลิต การตลาดและ

                  การขนส่ง เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะม่วงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
                  มาตรการด าเนินงานที่เกี่ยวข้องมีรายละเอียดดังนี้

                        4.3.1  มาตรการด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต

                            1)  การด าเนินการในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต
                  จะเน้นการปรับปรุงคุณภาพของดินในเขตพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางและน้อย ให้มีความ

                  เหมาะสมส าหรับพืชเศรษฐกิจมะม่วง โดยพิจารณาสภาพของดินในแต่ละพื้นที่ เพื่อมีการปรับปรุง

                  คุณภาพดินได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังรวมถึงการส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ ย

                  อินทรีย์และปุ๋ ยชีวภาพ ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ ยเคมี เพื่อเพิ่มธาตุอาหารและปรับปรุงโครงสร้างของดิน
                            2)  ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรในรูปต่างๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และ

                  ประสบการณ์ภายในกลุ่ม การประสานงานกับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง จัดการจัดเก็บข้อมูลการเพาะปลูกและ

                  ผลผลิตอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้คาดการณ์ผลผลิตได้ เป็นการสร้างอ านาจในการต่อรองทางการตลาด
                            3)  ถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ กับเกษตรกรที่ปลูก

                  มะม่วง รวมถึงการดูแลการผลิตตามระบบเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agriculture Practices,

                  GAP) เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณค่าของผลผลิตและมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ

                  และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเฉพาะความปลอดภัยซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญของการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก
                        4.3.2  มาตรการด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                            1)  การพัฒนาแหล่งน ้าส าหรับการปลูกมะม่วง เพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกมะม่วงได้

                  ทั้งนอกและในฤดูอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ จึงควรเตรียมแหล่งน ้าให้พอเพียงส าหรับฤดูแล้ง
                  หรือฝนทิ้งช่วง และควรจัดระบบให้น ้าในแปลงปลูกอีกด้วย

                            2)  การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงตลาด โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคม

                  จากสวนมะม่วงมายังศูนย์กระจายสินค้า เพื่อให้ผลผลิตจากเกษตรกรมาถึงศูนย์กระจายสินค้าได้ตรง
                  เวลาและเกิดความเสียหายต่อผลผลิตน้อยที่สุด







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะม่วง                     กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150