Page 9 - longan
P. 9

บทที่ 1

                                                         บทน ำ




                  1.1  หลักกำรและเหตุผล

                        ปัจจุบันผลไม้ไทยนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า

                  45,613 ล้านบาท ซึ่งภาครัฐได้ให้ความส าคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลไม้เศรษฐกิจหลัก
                  7 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ล าไย และลิ้นจี่ เพื่อผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและได้
                  มาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมอบหมายให้กรมส่งเสริม

                  การเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) จัดการ
                  สัมมนาดังกล่าวขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นรอบด้านจากทุกภาคส่วน เพื่อน าข้อมูลและข้อเสนอแนะไป
                  ปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 – 2570 หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้
                  ไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565 – 2570) ให้ครอบคลุมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์
                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่การจัดการผลิต และผลิตไม้ผลคุณภาพสู่ผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อแก้ไข

                  ปัญหาการตลาดสินค้าผลไม้ที่มีมายาวนานต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแผนปฏิบัติ
                  การด้านการพัฒนาผลไม้ไทยในส่วนกลาง ระดับเขต และระดับจังหวัดของกรมฯ ตลอดจนหน่วยงาน
                  ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้บูรณาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงข้อมูลด้านการพัฒนาผลไม้ไทย

                  ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ไทยในอนาคต
                        สภาวะเศรษฐกิจของโลกปัจจุบันเป็นไปในลักษณะของการแข่งขัน รวมทั้งการผลิตทางด้าน
                  เกษตรกรรม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการเตรียมพร้อม
                  เพื่อเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรมุ่งสู่มาตรฐานสากล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่มี

                  ภารกิจส าคัญในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในระดับ
                  สากล ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรเป็น
                  ยุทธศาสตร์หนึ่งที่มีเป้าหมายที่จะพัฒนาการเกษตร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาดแบบครบ
                  วงจร ส าหรับด้านการผลิต ปัจจัยการผลิตที่ส าคัญเบื้องต้น ได้แก่ ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงาน

                  หลักมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทรัพยากรดินโดยการฟื้นฟูปรับปรุงบ ารุงดินให้มี
                  ความอุดมสมบูรณ์และมีศักยภาพในการผลิต ตลอดจนมีการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและ
                  น้ าเพื่อให้มีการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
                        จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดท าเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย ขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งใน

                  การบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการก าหนดบริเวณการใช้
                  ที่ดินได้ให้ความส าคัญกับลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม และมีความสอดคล้องยุทธศาสตร์
                  การพัฒนาล าไยในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 (ปี พ.ศ.
                  2560 - 2564) ด้านการผลิตด าเนินการส่งเสริมการผลิตตามพื้นที่ Agri-Map ในการก าหนดเขตการใช้

                  ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย ค านึงถึงพื้นที่ปลูกที่มีศักยภาพเหมาะสมมากและมีความสอดคล้องกับกลุ่ม
                  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ แหล่งรับซื้อโดยโรงรมล าไยสดด้วยก๊าซ
                  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และโรงงานอุตสาหกรรมล าไย ให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการปลูกล าไยที่เหมาะสมที่สุด





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14