Page 14 - longan
P. 14

2-2





                  เป็นเส้นเขตแดนธรรมชาติ แม่น้ าสายส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าจันทบุรี แม่น้ าระยอง แม่น้ าประแสร์ และ

                  แม่น้ าเวฬุ
                        ภาคใต้ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นคาบสมุทรที่มีเทือกเขาเป็นสันอยู่ตอนกลาง และมีพื้นที่ลาด
                  ลงสู่ทะเล มีเทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาสันกาลาคีรี

                  ด้านตะวันออกของภาคเป็นอ่าวไทย ส่วนด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามัน พื้นที่บริเวณชายฝั่งจะเป็น
                  ที่ราบแคบ มีความสูงเฉลี่ยน้อยกว่า 13 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออก
                  มีลักษณะราบเรียบเป็นบริเวณที่มีเขตน้ าตื้นกว้าง ส่วนด้านตะวันตกมีลักษณะขรุขระและเว้าแหว่ง
                  ฝั่งทะเลมีความลาดชันมาก แม่น้ าที่ส าคัญในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเล ได้แก่ แม่น้ า
                  ชุมพร แม่น้ าตาปี แม่น้ าปากพนัง แม่น้ าโก-ลก แม่น้ าปากจั่น แม่น้ ากระบุรี และแม่น้ าตรัง


                  2.2  สภาพภูมิอากาศ

                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ท าให้ภูมิอากาศของประเทศมีลักษณะ

                  เป็นแบบร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน
                  ยกเว้นภาคใต้และทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเป็นเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am)
                  จากลักษณะดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยสามารถปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ซึ่งลักษณะของภูมิอากาศ
                  ที่มีผลต่อการท าการเกษตรของประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้
                          ปริมาณน ้าฝน จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2565) ช่วงปี 2535-2564 พบว่าแต่ละภาค

                  มีปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปี ดังนี้ ภาคเหนือ 1,347.4 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,333.3
                  มิลลิเมตร ภาคกลาง 1,375.2 มิลลิเมตร ภาคตะวันออก 1,475.1 มิลลิเมตร และภาคใต้ 2,391.3 มิลลิเมตร
                  โดยเส้นชั้นน้ าฝนเท่าแสดงดังรูปที่ 2-1

                          ความชื นสัมพัทธ์ จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2565) ช่วงปี 2535-2564 พบว่า แต่ละภาค
                  มีความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ยตลอดปี ดังนี้ ภาคเหนือร้อยละ 75 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 74 ภาคกลาง
                  ร้อยละ 76 ภาคตะวันออกร้อยละ 76 และภาคใต้ร้อยละ 81
                          อุณหภูมิ จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา (2565) ช่วงปี 2535-2564 พบว่าแต่ละภาคมีอุณหภูมิ

                  เฉลี่ยตลอดปี ดังนี้ ภาคเหนือ 27 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 องศาเซลเซียส ภาคกลาง 27
                  องศาเซลเซียส ภาคตะวันออก 28 องศาเซลเซียส และภาคใต้ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิ
                  จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ของแต่ละฤดูกาล โดยเฉพาะในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุด
                  ในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิต่ าสุดโดยเฉพาะในเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมาก

                  ที่สุดในรอบปี โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลงต่ ากว่าจุดเยือกแข็ง
                  ภาคตะวันออกตอนล่างและภาคใต้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างวันและฤดูกาลไม่มาก โดยฤดูร้อน
                  อากาศไม่ร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในพื้นดิน
                          ฤดูกาล ประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

                            1) ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนและแห้ง
                  แล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน
                  ท าให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ก่อให้เกิด








                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19