Page 13 - longan
P. 13

บทที่ 2

                                                      ข้อมูลทั่วไป




                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียที่ละติจูด 5 องศา
                  37 ลิปดาเหนือถึง 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และมีต าแหน่งลองจิจูด 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออกถึง

                  105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 513,115 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ
                  320,696,887 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใกล้เคียง ดังนี้

                        ทิศเหนือ      ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                        ทิศตะวันออก   ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา
                        ทิศใต้       ติดสหพันธรัฐมาเลเซีย

                        ทิศตะวันตก    ติดสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และทะเลอันดามัน


                  2.1  สภาพภูมิประเทศ

                        ภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงทอดตัวยาวจาก
                  เหนือถึงใต้ และมีหุบเขาอยู่โดยทั่วไป เทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย
                  เทือกเขาผีปันน้ า และเทือกเขาหลวงพระบาง โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 1,600 เมตร จากระดับทะเล

                  ปานกลาง รวมทั้งยังเป็นต้นก าเนิดของแม่น้ าหลายสายที่ส าคัญ เช่น แม่น้ าปิง แม่น้ าวัง แม่น้ ายม และ
                  แม่น้ าน่าน ที่ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ าเจ้าพระยา
                        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีความสูงประมาณ 130-250 เมตร
                  จากระดับน้ าทะเลปานกลาง รูปร่างคล้ายกระทะหงาย มีขอบทางด้านตะวันตกและด้านใต้
                  ลาดเอียงลงทางด้านตะวันออก และมีภูเขาขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป เทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขา

                  เพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันก าแพง เทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของภาค
                  มีลักษณะเป็นแอ่ง คือ แอ่งสกลนคร และแอ่งโคราช พื้นที่ราบในภาคมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจ านวนมาก
                  แม่น้ าสายส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าโขง แม่น้ าชี แม่น้ ามูล และแม่น้ าสงคราม

                        ภาคกลาง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะลาดลงมาทางทิศใต้ ทางด้านตะวันตก
                  เป็นภูเขาและเทือกเขาสูง ต่อเนื่องจากทางภาคเหนือ ด้านตะวันออกของเทือกเขาเป็นที่ลาดชันเชิงเขา
                  ที่ทอดลงสู่ที่ราบภาคกลางและชายฝั่งทะเล มีลักษณะเป็นเนินตะกอนรูปพัด พื้นที่ราบส่วนใหญ่มีความ
                  สูงเฉลี่ยน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง เป็นที่ราบลุ่มตามล าน้ าที่ไหลลงสู่อ่าวไทย มีความ

                  ลาดชันน้อย แม่น้ าสายส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าเจ้าพระยา แม่น้ าท่าจีน และแม่น้ าแม่กลอง
                        ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลูกคลื่น มีความสูงประมาณ 50-150 เมตร
                  จากระดับน้ าทะเลปานกลาง มีเทือกเขาจันทบุรี ตั้งอยู่ตอนกลางของภาค มีที่ราบลุ่มแม่น้ าอยู่ทางตอนเหนือ
                  ระหว่างเทือกเขาสันก าแพงและเทือกเขาจันทบุรี บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นที่ราบชายฝั่งแคบ ๆ

                  ที่มีแม่น้ าไหลผ่าน ทางตะวันตกและทางใต้เป็นฝั่งทะเลติดกับอ่าวไทย มีเกาะใหญ่น้อยมากมาย และ
                  พื้นที่เนินเตี้ยสลับกับพื้นที่ราบ มีเทือกเขาที่ส าคัญ คือ เทือกเขาจันทบุรีซึ่งไปจรดกับเทือกเขาบรรทัด







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18