Page 31 - longan
P. 31

2-19




                              1. วิถีการตลาด การตลาดล าไยของประเทศไทยมีวิถีการตลาดตามขั้นตอนจากแหล่ง

                  ผลิตจนถึงมือผู้บริโภคและส่งออก เริ่มตั้งแต่เกษตรกรชาวสวนล าไย พ่อค้ารวบรวมท้องถิ่น/สถาบัน
                  เกษตรกร พ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีกในประเทศและพ่อค้าส่งออก โดยแบ่งวิถีการตลาดตามสภาพ
                  ผลผลิต ซึ่งประกอบด้วยตลาดล าไยสดและตลาดล าไยแปรรูป (รูปที่ 2-3) ดังนี้

                                วิถีการตลาดล้าไยสด เกษตรกรชาวสวนล าไยขายผลผลิตให้กับพ่อค้าขายส่งใน
                  ท้องถิ่น/สหกรณ์ พ่อค้าขายส่งระดับจังหวัด พ่อค้าขายส่งต่างจังหวัด/ตลาดไท/ตลาดสี่มุมเมือง เพื่อ
                  กระจายผลผลิตไปยังพ่อค้าขายปลีกและผู้บริโภคทั่วประเทศ การซื้อขายผลผลิตอีกเส้นทางหนึ่งคือ การ
                  ซื้อขายระหว่างสหกรณ์/สถาบันการเกษตรในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตกับสหกรณ์/สถาบันการเกษตรนอก
                  พื้นที่ จนผลผลิตกระจายถึงผู้บริโภค โดยเกษตรกรขายผลผลิตให้กับสหกรณ์หรือสถาบันที่รับซื้อในพื้นที่

                  โดยตรง
                                วิถีการตลาดล้าไยแปรรูป เกษตรกรขายผลผลิตล าไยสดให้กับผู้ประกอบการ (ล้ง)/
                  โรงงาน/สถาบันเกษตรกร แล้วเข้าสู่กระบวนการอบ (เนื้อล าไยและอบแห้งทั้งเปลือก) หลังจากนั้นจะมีการ

                  รวบรวมเนื้อล าไยอบแห้งไปขายส่ง/ขายปลีกในประเทศและส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ล าไยอบแห้งทั้งเปลือก
                  จะขายในตลาดต่างประเทศทั้งหมดหรือเก็บเข้าโกดังเพื่อรอการขายไปตลาดต่างประเทศต่อไป
                              จากวิถีการตลาดของล าไยจากเกษตรกรผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคภายในประเทศและส่งออกไป
                  ตลาดต่างประเทศในรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงแบ่งการศึกษาการตลาดล าไยเป็นตลาดภายในประเทศและตลาด

                  ต่างประเทศ (ตารางที่ 2-5) ดังนี้
                                  1)  ตลาดในประเทศ ผลผลิตล าไยส่วนใหญ่ที่บริโภคในประเทศจะอยู่ในรูปล าไยสด
                  (ล าไยสดที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นล าไยเกรด A ที่เหลือจากการส่งออกและเกรด B) ส าหรับผลิตภัณฑ์แปรรูป ได้แก่
                  ล าไยอบแห้ง ล าไยกระป๋อง และล าไยแช่แข็ง มีการบริโภคในประเทศเล็กน้อย ปี 2554-2563 ปริมาณการ

                  บริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.13 ต่อปี
                                  2)  ตลาดต่างประเทศ ล าไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่รัฐบาลจัดให้อยู่ในกลุ่มสินค้าเพื่อการ
                  ส่งออก มูลค่าการส่งออกปีละหลายพันล้านบาท และประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกล าไยรายใหญ่ของโลก การส่งออก
                  ในรูปของล าไยสด ล าไยอบแห้ง ล าไยกระป๋อง และล าไยแช่แข็ง ตลาดหลักสินค้า (ส านักงานเศรษฐกิจ

                  การเกษตร, 2564ข) ล าไยสด ได้แก่ ประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ล าไยอบแห้ง ได้แก่ ประเทศจีน
                  เวียดนาม และฮ่องกง ล าไยกระป๋อง ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย จีน และอินโดนีเซีย และล าไยแช่แข็ง ได้แก่
                  ประเทศจีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น ปี 2554-2563 ปริมาณและมูลค่าส่งออกล าไยและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                  ร้อยละ 3.68 และ 11.02 ต่อปี ตามล าดับ
                            2. การส่งออก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกล าไยรายใหญ่ของโลก โดยส่วนใหญ่ส่งออกในรูป
                  ล าไยสด และล าไยอบแห้ง ในช่วงปี 2554-2563 ปริมาณการส่งออกล าไยสด ล าไยอบแห้ง ล าไยกระป๋อง และ
                  ล าไยแช่แข็ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.35 2.20 0.99 และ 2.23 ต่อปี ตามล าดับ (ตารางที่ 2-6) สอดคล้องกับ
                  มูลค่าการส่งออกล าไยสด ล าไยอบแห้ง ล าไยกระป๋อง และล าไยแช่แข็ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.19 7.47

                  5.43 และ 1.69 ต่อปี ตามล าดับ (ตารางที่ 2-7)












                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจล าไย                                  กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36