Page 63 - durian
P. 63

2-43





                    2.6   สภาวะการผลิตและการตลาด

                        ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อนที่มีสภาพภูมิภาคเขตร้อนที่มีสภาพภูมิประเทศและ

                  ภูมิอากาศที่เหมาะสมส าหรับเป็นแหล่งผลิตไม้ผลเมืองร้อนได้หลากหลายชนิดที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น

                  ในด้านรสชาติ โดยเฉพาะทุเรียนเป็นไม้ผลที่ได้รับความนิยมของคนไทยและชาวต่างชาติ ด้วย
                  ภาพลักษณ์ที่ดี มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทุเรียนไทย ทุเรียนเป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ทุก

                  ภาคในประเทศไทย แต่แหล่งปลูกที่ส าคัญในเชิงพาณิชย์จะอยู่เฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ จาก

                  หลักฐานพบว่ามีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และสันนิษฐานว่า
                  น่าจะเป็นการน าเข้ามาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย ทุเรียนจะให้ผลผลิตหลังการปลูก 5-6 ปี และ

                  ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตสูง คือ ช่วงปีที่ 12-15 พันธุ์ที่นิยมปลูกในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง พันธุ์

                  กระดุมทอง พันธุ์ชะนี และพันธุ์ก้านยาว ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกหลักในการ

                  ส่งออกทุเรียนทั้งในรูปของผลสดและแปรรูป
                        2.6.1  แหล่งผลิตที่ส้าคัญ

                                แหล่งปลูกดั้งเดิมของทุเรียนอยู่ในเขตนนทบุรี ธนบุรี และกรุงเทพมหานคร โดยเป็น

                  การปลูกแบบยกร่อง มีคันคูน้ าเพื่อป้องกันน้ าท่วม โดยทั่วไปมักปล่อยให้มีการเจริญเติบโตตาม
                  ธรรมชาติ มีการดูแลรักษาน้อย ต่อมาเมื่อประสบปัญหาน้ าท่วมในบางปี ประกอบกับมีการขยายความ

                  เจริญของสังคมเมืองออกสู่พื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานคร เกษตรกรจึงมีการขายพื้นที่สวนเดิม

                  เพื่อใช้ในการปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ และย้ายฐานการผลิตออกไปยังจังหวัดอื่น
                  ที่มีสภาพภูมิอากาศ และสภาพพื้นที่เหมาะสม (กรมวิชาการเกษตร, 2547) ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียน

                  เป็นจ านวนมากในทุกภาคของประเทศไทย เช่น ภาคเหนือที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดศรีสะเกษ นครพนม หนองคาย  ภาคกลางที่จังหวัดอยุธยา ลพบุรี

                  สระบุรี ภาคใต้ที่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ  ภาคตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี
                  ระยอง ตราด เป็นต้น จากสถิติพื้นที่ปลูก พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต (ตารางที่ 2-8) พบว่า ในช่วงปี

                  พ.ศ. 2550-2559 พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เก็บเกี่ยวมีแนวโน้มลดลง ปี พ.ศ. 2559 พื้นที่เก็บเกี่ยว

                  578,861 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก 573,293 ไร่ ปี พ.ศ. 2558 ร้อยละ 0.97 หากพิจารณาถึงปริมาณผลผลิตในช่วง
                  ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550-2559 พบว่า ผลผลิตทุเรียนมีปริมาณไม่คงที่ อยู่ที่ประมาณ

                  509,381-750,683 ตัน โดยใน ปี พ.ศ. 2550 มีปริมาณผลผลิตสูงสุด 750,683 ตัน ส่วนในปี พ.ศ. 2551

                  ปริมาณผลผลิตทุเรียนลดลงจากปี พ.ศ. 2550 เนื่องจากพื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง โดยเฉพาะแหล่งผลิตที่

                  ส าคัญในภาคตะวันออกและภาคใต้ เนื่องจากมีการโค่นต้นทุเรียนที่อายุมากเพื่อปลูกพืชอื่นที่ได้รับ
                  ผลตอบแทนที่สูงกว่าทดแทน ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น ขณะเดียวกันจากสภาพอากาศที่แปรปรวน

                  เกิดพายุ ลมแรง และฝนตกหนักติดต่อกันนาน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีผล
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68