Page 125 - durian
P. 125

3-51





                  ปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนแล้วได้ใช้ค่าอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit

                  Cost Ratio : B/C ratio) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่แสดงถึงอัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ต่อปีของ

                  รายได้กับต้นทุนทั้งหมดตลอดช่วงปีที่ท าการผลิต ค่า B/C สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดประสิทธิภาพ
                  การผลิต (Productivity) และเปรียบเทียบผลได้รายได้ที่ได้รับจากการลงทุนที่เท่ากันได้ กล่าวคือ

                  การผลิตที่มีค่า B/C มากกว่า 1 จะแสดงให้เห็นว่า การผลิตนั้นให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่

                  ลงทุนไปและย่อมดีกว่าการผลิตหรือการลงทุนที่มีค่า B/C น้อยกว่า 1 จุดคุ้มทุนหรือปีที่คุ้มทุน ใช้บอก
                  ระยะเวลา (จ านวนปี) ที่คืนทุน(Payback Period) โดยเป็นระยะที่ผลตอบแทนสุทธิจากการผลิตมีค่า

                  เท่ากับต้นทุนในการผลิต ซึ่งจากตารางมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ของต้นทุนและผลตอบแทนการผลิต
                  ทุเรียน จุดคุ้มทุนเป็นปีที่ผลตอบแทนสะสมมีค่าเป็นบวก และเมื่อท าการผลิตต่อไปผลตอบแทนที่ได้

                  จะเป็นก าไรสะสมในปีต่อๆ ไป อัตราผลตอบแทนภายใน(Internal Rate of Return : IRR) ใช้พิจารณา

                  ส าหรับการตัดสินใจลงทุนผลิต โดยเปรียบเทียบกับอัตราคิดลด ถ้า IRR มีค่ามากกว่าอัตราคิดลด
                  แสดงว่า การผลิตนั้นสามารถลงทุนได้ การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวนี้ท าให้ทราบข้อมูล

                  ด้านต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความส าคัญต่อเกษตรกรในฐานะผู้ประกอบการโดยจะ
                  เป็นข้อมูลให้ทราบถึงสถานะทางเศรษฐกิจที่จะตัดสินใจท าการผลิตหรือด าเนินการให้เป็นไปอย่างมี

                  ประสิทธิภาพและสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและก าหนดเขตการผลิตต่อไป

                  นอกจากนี้ยังใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการผลิตพืชชนิดอื่นที่ใช้วิธีวิเคราะห์ด้วย
                  หลักการเดียวกัน

                        การผลิตทุเรียนปีการผลิต 2559 ท าการส ารวจการผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก (จังหวัด

                  จันทบุรี ตราดและระยอง) และภาคใต้ (จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ระนอง และชุมพร) ทุก
                  ตัวอย่างที่ส ารวจเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เกษตรกรขายผลผลิตให้พ่อค้าในท้องถิ่นภาคตะวันออก

                  ร้อยละ 70.41 และภาคใต้ในฤดูร้อยละ 31.18 ขายให้พ่อค้าในจังหวัดเดียวกันภาคตะวันออกร้อยละ

                  29.59 ภาคใต้ในฤดูร้อยละ 30.00 และภาคใต้นอกฤดูร้อยละ 8.33 และพ่อค้าต่างจังหวัดภาคใต้
                  ในฤดูร้อยละ 38.82 และภาคใต้นอกฤดูร้อยละ 91.67 (ตารางที่ 3-6)


                  ตารางที่ 3-6  การขายผลผลิตทุเรียนของเกษตรกรตามประเภทผู้ซื้อ ปีการผลิต 2559
                                                                               ภาค
                               ประเภทผู้ซื้อ
                                                            ตะวันออก         ใต้ในฤดู       ใต้นอกฤดู

                  พ่อค้าในท้องถิ่น                            70.41           31.18             -
                  พ่อค้าในจังหวัดเดียวกัน                     29.59           30.00           8.33

                  พ่อค้าต่างจังหวัด                             -             38.82           91.67

                  ที่มา :  วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่ส ารวจโดยกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
                        (2560)
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130