Page 139 - coffee
P. 139

3-29






                        3.1.4 การประเมินผลผลิตของดินสําหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ

                          1)  นิยาม และความสําคัญของการประเมินกําลังการผลิตของดิน

                            การผลิตทางการเกษตรเพื่อตอบสนองความตองการของตลาดทั้งภายในและภายนอก

                  ประเทศ มีปจจัยที่เกี่ยวของหลายประการ โดยเฉพาะอยางยิ่งปจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและสงผล
                  กระทบตอผลผลิตของพืชที่สําคัญ ไดแก สมบัติของดิน พันธุพืช ภูมิอากาศ และการจัดการ และปจจัย

                  ที่ควรไดรับการพิจารณาถึงความเหมาะสมสําหรับการปลูกพืชเปนประการแรก ไดแก ดิน ซึ่งเปนขอมูล

                  พื้นฐานที่สําคัญและถูกนํามาใชในการวางแผนการผลิตพืชเบื้องตน  แตมิไดหมายความวาดินเปน

                  ปจจัยที่สําคัญกวาปจจัยการผลิตชนิดอื่นๆ  ปจจัยการผลิตทุกปจจัยจะตองถูกนํามาพิจารณารวมดวย
                  อยางเหมาะสมและสอดคลองกับความตองการของพืชจึงจะทําใหพืชที่ปลูกไดรับผลผลิตปริมาณ

                  สูงสุด  จึงจําเปนตองนําขอมูลดิน การใชประโยชนที่ดินและขอมูลภูมิอากาศมาเปนขอมูลพื้นฐานใน

                  การพิจารณารวมกับการจัดการ เพื่อประเมินกําลังผลิตของดินในการผลิตพืชแตละชนิดวาพื้นที่สวนใด
                  ของประเทศจะเหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจนั้นๆ และมีปริมาณเนื้อที่มากนอยเทาใด เพื่อใช

                  ประโยชนในการบริหารจัดการพื้นที่ในการวางแผนการผลิตพืชใหไดตามความตองการของตลาด

                            สวนวิจัยและวินิจฉัยคุณภาพดิน สํานักสํารวจและวิจัยทรัพยากรดิน จึงไดจัดทํา
                  โครงการวินิจฉัยและประเมินผลผลิตตามชั้นความเหมาะสมของดินกับพืชเศรษฐกิจ โครงการนี้

                  เปนการศึกษาโดยนําขอมูลสมบัติของดิน ภูมิอากาศ สัมประสิทธิ์พันธุกรรมพืช และการจัดการ ซึ่ง

                  เปนปจจัยสําคัญในการปลูกพืชมาวิเคราะหรวมกันเพื่อประเมินศักยภาพการใหผลผลิตของดินในการ
                  ปลูกพืชเศรษฐกิจ และเพื่อศึกษาขอจํากัดของดินในการใหผลผลิต ซึ่งจะนําไปกําหนดเปนคําแนะนํา

                  ในการปลูกพืชใหแกเกษตรกร และสามารถใชเปนทางเลือกในการผลิตพืชบนความแตกตางของดิน

                  และภูมิอากาศเฉพาะถิ่น ตลอดจนการจัดการดินและพืชที่ใหผลตอบแทนคุมคาตอการลงทุนตอไป

                          2)  อุปกรณและวิธีการ

                           2.1)  อุปกรณ
                             (1) ขอมูลเอกสาร เชน เอกสารผลงานวิจัย เอกสารวิชาการ เชน รายงานการ

                  สํารวจดิน การกําหนดลักษณะของชุดดินที่จัดตั้งในภาคตางๆ ของประเทศไทยจําแนกใหมตามระบบ

                  อนุกรมวิธานดิน 2546 คูมือการใชแผนที่กลุมชุดดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจ มหัศจรรยพันธุดิน เปนตน
                             (2) อุปกรณเจาะทดสอบดิน ไดแก สวานเจาะดิน พลั่ว คอนยาง สมุดเทียบสี

                  ชุดตรวจสอบความเปนกรดเปนดาง สมุดบันทึกหลุมเจาะ และเอกสารคําอธิบายหนาตัดดิน เปนตน

                                (3) เครื่องกําหนดตําแหนงบนพื้นโลก (Global Position System : GPS) และ
                  กลองถายภาพ









                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจกาแฟ                     สํานักนโยบายและแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144