Page 47 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 47
2-33
2) การตลาด
ตลาดส่งออกมะพร้าวหลักของประเทศไทย คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งครอง
สัดส่วนประมาณร้อยละ 40-50 และมีแนวโน้มขยายตัวในอนาคต ปัจจัยหนึ่ง คือ ผลผลิตมะพร้าวของ
สาธารณรัฐประชาชนจีนลดลง จากปัญหาราคาผลผลิตที่ลดลง ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำ
หากเทียบกับสินค้าเกษตรชนิดอื่น เกษตรกรของสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอนที่
ื่
ให้ผลตอบแทนสูงกว่าแทน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลผลิตมะพร้าวของสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปริมาณ
ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค หากจะกลับมาปลูกมะพร้าวอีกครั้ง จะต้องใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี
จึงจะให้ผลผลิต ซึ่งผลกระทบจากปริมาณมะพร้าวที่ลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ส่งผล
กระทบเชิงบวกในปัจจุบัน คือ ประเทศไทยมีโอกาสที่อาศัยช่องว่างระหว่างการพัฒนา เพื่อขยายตลาด
ส่งออกมะพร้าวไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน และที่สำคัญรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้อนุญาตให้
สามารถนำเข้ามะพร้าวสดจากประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย และไต้หวันเท่านั้น ซึ่ง
ในกลุ่มนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนได้นำเข้ามะพร้าวสดจากประเทศไทยปริมาณมากที่สุด จากที่มะพร้าว
ประเทศไทยมีเอกลักษณ์ด้านรสชาติ โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทยถือว่าเป็นที่นิยมมากที่สุด
ซึ่งผู้บริโภคเริ่มคุ้นเคยกับมะพร้าวน้ำหอม จากการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่
เมื่อได้ลิ้มลองก็รู้สึกติดใจในรสชาติ รวมถึงเนื้อสัมผัส จึงเป็นจุดเริ่มต้นและสร้างโอกาสของการเปิดตลาด
มะพร้าวน้ำหอมประเทศไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน
(1)สถานการณ์การส่งออกและนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าว ระหว่างปี
2556-2565 พบว่า ปริมาณการส่งออก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.57 มูลค่าการส่งออก
มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.86 ในส่วนของการนำเข้า ปริมาณการนำเข้า มีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.59 มูลค่าการนำเข้า มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.31 โดยปี
2565 การส่งออกมะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวอันดับแรก คือ มะพร้าวอ่อน มีปริมาณ 557,357 ตัน
คิดเป็นร้อยละ 77.52 ของปริมาณทั้งหมด มีมูลค่า 13,424 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.04 ของมูลค่า
ทั้งหมด รองลงมา กะทิสำเร็จรูป มีปริมาณ 147,420 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20.50 ของปริมาณทั้งหมด
มีมูลค่า 8,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.47 ของมูลค่าทั้งหมด และมะพร้าวแก่ มีปริมาณ 9,400 ตัน
คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของปริมาณทั้งหมด มีมูลค่า 352 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.57 ของมูลค่าทั้งหมด
ตามลำดับ ในส่วนของการนำเข้ามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าวอันดับแรก คือ มะพร้าวแก่ มีปริมาณ
142,274 ตัน คิดเป็นร้อยละ 69.27 ของปริมาณทั้งหมด มีมูลค่า 1,434 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.12
ของมูลค่าทั้งหมด รองลงมา กะทิสำเร็จรูป มีปริมาณ 41,994 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20.45 ของปริมาณ
ทั้งหมด มีมูลค่า 2,148 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.61 ของมูลค่าทั้งหมด และมะพร้าวเป็นฝอยทำให้แห้ง
มีปริมาณ 8,845 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.31 ของปริมาณทั้งหมด มีมูลค่า 609 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
12.37 ของมูลค่าทั้งหมด ตามลำดับ (ตารางที่ 2-17 ถึงตารางที่ 2-18)
(2)สถานการณ์ราคามะพร้าวและผลิตภัณฑ์มะพร้าว ระหว่างปี 2556-2565 พบว่า
ราคามะพร้าวผลแห้งทั้งเปลือกขนาดใหญ่ ที่เกษตรกรขายได้ที่สวนทั่วประเทศ มีอัตราการเปลี่ยนแปลง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.24 โดยปี 2556 ราคา 8.39 บาทต่อผล ในปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 10.59 บาทต่อผล
สำหรับราคาขายส่งตลาดกรุงเทพมหานคร ราคาเนื้อมะพร้าวขาว รับซื้อหน้าโรงงาน ราคาเนื้อมะพร้าวแห้ง
90% และราคาน้ำมันมะพร้าวดิบ มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันทั้งหมด พบว่า
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน