Page 33 - การใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ
P. 33

22







                                                              บทที่ 3
                                                           ตรวจเอกสาร


                       3.1 การศึกษาการเจริญเติบโตของพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย
                               ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ในด้านของทรัพยากรธรรมชาติ และได้ชื่อว่าเป็น
                       ประเทศเกษตรกรรมมาช้านาน เนื่องจากตั งอยู่ในเขตภูมิประเทศที่เอื ออ านวยต่อการท าการเกษตร

                       ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตร พืชของประเทศไทยนับว่าเป็นสินค้าส่งออก
                       ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในระดับโลกอย่างมาก หลายๆ ชาติต่างให้การยอมรับว่าพืชที่มีคุณภาพดี แม้ว่าจะ
                       พยายามพัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพียงใดก็ตามแต่ก็ยังคงพึ่งพาอาศัยเกษตรกรรมอยู่
                       เช่นเดียวกับประเทศที่ได้พัฒนาไปแล้วทั งหลายซึ่งวิวัฒนาการและพัฒนาการเกษตรของไทยได้

                       เปลี่ยนแปลงได้ ตามยุคสมัยและตามกระแสกาเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกมาตามล าดับ (กิติศักดิ์, 2564)
                       ภาคเกษตรนับได้ว่ามีบทบาทส าคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดรายได้
                       แล้วคนส่วนใหญ่ของประเทศยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม หากมีรายได้จากการขายสินค้าเกษตรที่ดีก็จะ
                       เป็นก าลังซื อส าคัญของประเทศที่จะผลักดันเข้าสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจภาคธุรกิจอื่นต่อไป อย่างไรก็ตาม

                       ราคาสินค้าเกษตรในพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ อาทิ อ้อย มันส าปะหลัง สับปะรด ยางพารา และปาล์มน  ามัน
                       ยังคงผันผวน ซึ่งอาจจะเกิดจากปริมาณผลผลิตที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และความต้องการของ
                       ตลาดทั งในและต่างประเทศ (กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า, 2563)

                           3.1.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตพืช
                                 การเจริญเติบโต คือ ขบวนการสะสมและเพิ่มพูนเซลลใหมใหแกสวนตางๆ ของพืชตนไมมีการ
                       เจริญเติบโตทั งความสูงและความโต ซึ่งเปนผลมาจากกิจกรรมของเยื่อเจริญในชวงระยะเวลาที่ก าหนด
                       (พงษศักดิ์,2521) การเจริญเติบโตของต้นไมป็นผลเนื่องมาจากการกระท าของปัจจัย 2 ปัจจัยร่วมกัน คือ
                       ปัจจัยทางดานพันธุกรรม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

                                 1) ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม (Genetic Factor) เป็นปัจจัยที่มาจากภายในพืช พืชพันธุ์ต่าง ๆ
                       ประกอบด้วยจีน (gene) ซึ่งเป็นหน่วยทางพันธุกรรมขนาดเล็กอยู่บนโครโมโซม (chromosome) ในเซลล์
                       ของสิ่งมีชีวิต เป็นหน่วยที่สืบทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ท าหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตทั ง

                       ลักษณะที่สามารถมองเห็นได้ เช่น รูปร่าง ทรงต้น ความสูง ลักษณะใบ ลักษณะดอก รูปทรงผลเป็นต้น
                       และลักษณะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น คุณภาพของผลผลิต ได้แก่ น  าตาล แป้ง ไขมัน โปรตีน เป็นต้น
                       การใช้น  า การใช้อาหารแร่ธาตุ เป็นต้น นักปรับปรุงพันธุ์พืชจึงได้น าหลักการนี มาใช้ในการผสมพันธุ์พืชให้
                       มีลักษณะดีตามความต้องการ การเลือกใช้พันธุ์ที่ดีประกอบกับการจัดการให้สภาพแวดล้อมอื่น ๆ

                       เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชย่อมท าให้ผลผลิตสูงขึ น การเลือกใช้พันธุ์ที่ดีนับเป็นทางลัดในการ
                       เพาะปลูกเพราะท าให้มีโอกาสที่จะได้ผลผลิตสูงขึ นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
                                 2) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Factor)
                                   2.1) แสง เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช เพราะแสง เป็น

                       ปัจจัยส าคัญในการสร้างอาหารหรือการสังเคราะห์แสงของพืช (photosynthesis) โดยมีคลอโรฟิลล์
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38