Page 7 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 7

1






                                                              บทที่ 1
                                                               บทน า


                       1.1 หลักการและเหตุผล

                               ดินเป็นทรัพยากรที่มีความส าคัญต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งยังคงต้องใช้ที่ดินเพื่อ
                       ประกอบการเกษตรอันเป็นอาชีพพื้นฐาน เนื่องจากดินเป็นปัจจัยหลักที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

                       เป็นแหล่งให้ธาตุอาหารและน้ าแก่พืช เป็นที่ยึดเกาะของรากให้พืชทรงตัวอยู่ได้ และเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
                       ในระบบนิเวศ ยิ่งไปกว่านั้นดินยังเป็นที่มาของปัจจัยสี่ส าหรับมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
                       และที่อยู่อาศัยซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่างๆ มากมาย (Dhayalan, 2016) ความอุดม
                       สมบูรณ์ของดิน (Soil Fertility) คือ สมบัติดินในการให้ธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชในปริมาณ

                       และอัตราส่วนที่เหมาะสม ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างเพียงพอ ทั้งในด้าน
                       ขององค์ประกอบ ชนิดและปริมาณของแร่ธาตุ รวมถึงสถานะของสารอาหารต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในดิน จึงนับเป็น
                       ตัวชี้วัดถึงผลิตภาพดิน (Soil Productivity) หรือความสามารถในการให้ผลผลิตของพืช คุณลักษณะความอุดม

                       สมบูรณ์ของดินมีระดับและรูปแบบที่แตกต่างกันซึ่งแปรผันเชิงพื้นที่และเวลาในพื้นที่ พืชต่างชนิดกัน
                       อาจจะต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดินต่างกัน ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกก าหนดจากเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่
                       ความสามารถที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อ การเจริญเติบโตของพืชได้สูง สมบัติทางกายภาพต่าง ๆ
                       ของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช และการมีหรือไม่มีสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ที่จะเป็นพิษต่อ
                       กองจ าแนกที่ดิน กรมพัฒนาที่ดินได้ระบุว่า การน าผลวิเคราะห์ดินทุกอย่างมาใช้ในการคาดคะเนความอุดม

                       สมบูรณ์ของดินนั้นเป็นไปได้ยาก จึงมักเลือกเฉพาะสมบัติทางเคมีที่ส าคัญ ๆ เช่น ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                       ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ค่าความจุในการ
                       แลกเปลี่ยนประจุบวก และปริมาณธาตุที่เป็นด่างที่ดินดูดยึดไว้ เป็นต้น  สมบัติทางเคมีดินเป็นคุณสมบัติของดิน

                       ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะตรวจสอบได้ด้วยความรู้สึก การเห็นด้วยตา และสัมผัสด้วยมือ แต่ต้องอาศัยวิธีการ
                       วิเคราะห์หรือกระบวนการทางเคมีเป็นเครื่องชี้บอก เนื่องจากการปฏิบัติงานด้านเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ใน
                       ห้องปฏิบัติการ ทั้งต้นทุน ระยะเวลา และแรงงานที่ต้องใช้ค่อนข้างสูงโดยเฉพาะการวิเคราะห์ดินรายแปลง
                       การสร้างแบบจ าลองการคาดการณ์ในการวินิจฉัยเชิงพื้นที่ของคุณลักษณะความอุดมสมบูรณ์ของดิน จึงเป็นความ

                       ท้าทายและความก้าวหน้า ส าหรับการท าการเกษตรแบบแม่นย า (Molin and Tavares, 2019; Singh et al., 2018)
                       ท าให้สามารถท าการเกษตรแบบเข้มข้นและแม่นย ายิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการท าการเกษตรแบบแม่นย า
                       ต้องมีแผนที่ดินที่มีรายละเอียดมากขึ้นสามารถใช้ในการจัดโซนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       เทคโนโลยีระยะไกล หรือรีโมทเซนซิง เป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาการตอบสนองของ

                       ปฏิกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับวัตถุภาคพื้นดิน การสะท้อนสะท้อนกลับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของดิน
                       สามารถใช้ในการประมาณค่าสมบัติดินได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ท าลายคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
                       ของดิน การใช้ดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศช่วยลดเวลาที่ใช้ในการส ารวจดินการวิเคราะห์ดิน ระยะเวลาการ
                       ท าแผนที่และค่าใช้จ่ายในการด าเนินการ
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12