Page 53 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 53

46






                                                               บทที่ 5

                                                       สรุปผลและข้อเสนอแนะ

                       5.1 สรุปผลการศึกษา

                           5.1.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดินในอ าเภอก าแพงแสน อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และ อ าเภอ
                       ปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งทั้ง 3 อ าเภอ มีพื้นที่ดินที่มีศักยภาพต่ า ได่แก่ พื้นที่ดินเค็มและพื้นที่ดินเปรี้ยว
                       ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้ที่ดิน และ ชุดดิน ได้แก่

                                 1) ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง พื้นที่ปลูกพืชไร่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูงที่สุด รองลงมา
                       ได้แก่ พื้นที่ปลูกผัก ไม้ละเมาะ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และนาข้าว ตามล าดับ ซึ่งเกิดจากพื้นที่ปลูกพืชไร่ส่วนใหญ่
                       อยู่ในอ าเภอก าแพงแสน จังหวัดนครปฐม ชุดดินที่ปลูกมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เช่น ขุดดิน
                       ก าแพงแสน ขณะที่นาข้าวส่วนใหญ่อยู่ในอ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอ าเภอปากพลี จังหวัด
                       นครนายก ชุดดินในนาข้าวส่วนใหญ่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ า

                                 2) ค่าการน าไฟฟ้า พื้นที่ปลูกผักมีค่าการน าไฟฟ้าสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ พื้นที่นาข้าว ไม้ผล
                       พืชไร่ ไม้ยืนต้น และไม้ละเมาะ ตามล าดับ พื้นที่ปลูกผักมีค่าการน าไฟฟ้าสูงที่สุดเนื่องจากแปลงเก็บ
                       ตัวอย่างดินส่วนใหญ่อยู่ในชุดดินก าแพงแสน (Ks) ชุดดินบางเขน (Bn) และชุดดินเสนา (Se) ซึ่งเป็นดินที่

                       วัตถุตนก าเนิดดิน เป็นตะกอนน้ าผสมกับตะกอนทะเล พัฒนาในสภาพน้ ากรอย
                                 3) ค่าปริมาณอินทรียวัตถุ นาข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ไม้ละเมาะ
                       ไม้ผล ไม้ยืนต้น และพืชไร่ ตามล าดับ นาข้าวมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง เนื่องจากแปลงเก็บตัวอย่างดินส่วน
                       ใหญ่อยู่ในชุดดินบางเขน (Bn) และ ชุดดินรังสิต (Rs) ซึ่งเป็นดินที่อยู่ในกลุมดินใหญ Dystraquerts ซึ่ง

                       เป็นกลุ่มดินที่มีมีความอุดมสมบูรณอยูในระดับปานกลาง ปริมาณอินทรียวัตถุปานกลางถึงสูงมากในดินบน
                       ขณะที่พืชไร่มีปริมาณ OM เนื่องจากพื้นที่ปลูกพืชไร่ส่วนใหญ่อยูในชุดดินก าแพงแสนดินบนเป็นดินร่วน
                       ปนทรายแป้งหรือดินร่วน มีปริมาณอินทรียวัตถุในชั้นดินบนต่ า
                           5.1.2 ประเภทการใช้ที่ดิน การดูแลให้น้ า และฤดูกาลมีผลต่อค่าดัชนีพืชพรรณที่ค านวณจาก

                       ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยการเปลี่ยนแปลงของค่า NDVI และ GNDVI ลักษณะคล้ายกันทั้ง 2 เดือน
                       คือ ค่า NDVI มีค่าสูงกว่า GNDVI โดยเดือนมีนาคมค่า NDVI และ GNDVI ของไม้ผลสูงกว่าของไม้ละเมาะ
                       แต่ต่ ากว่าในเดือนธันวาคม พืชที่มีอายุสั้น เช่น ผัก ข้าว และ พืชไร่ มีค่าดัชนี NDVI และ GNDVI ต่ ากว่า
                       ไม้ยืนต้น ไม้ผล และ ไม้ละเมาะ ค่า NDII ในเดือนมีนาคม ของพืชไร่ นาข้าว ไม้ละเมาะ ผัก มีค่าต่ า ขณะที่ใน

                       เดือนธันวาคม พืชไร่ ผัก นาข้าว ไม้ผล มีค่าต่ า ทั้งนี้เกิดจากดัชนี NDII สามารถใช้ตรวจจับความเครียดใน
                       น้ าของพืชได้ ซึ่งเห็นได้ว่าค่า NDII ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฝนจะมีค่าสูงกว่าในเดือนมีนาคมฤดู
                       แล้ง ซึ่งพื้นที่พืชไร่ นาข้าว ผัก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชน้อย เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยว และไม้ละเมาะเป็น

                       ช่วงที่ต้นไม้ผลัดใบพื้นดินส่วนใหญ่แห้งเนื่องจากเป็นพืชที่ต้องอาศัยน้ าฝน แต่จะสูงกว่าในไม้ผลในเดือน
                       ธันวาคมเนื่องจากต้นไม้มีความหนาแน่นกว่า และมีใบที่ออกมาใหม่ยังไม่มีการร่วงสามารถเก็บความชื้นได้
                       มากกว่า ไม้ผลซึ่งส่วนใหญ่ปลูกเป็น แถวมีพื้นที่ว่างเยอะกว่าความหนาแน่นของต้นพืชในพื้นที่น้อยกว่า
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58