Page 51 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 51

44






                               4.3.3 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                                     พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีพืชพรรณกับปริมาณอินทรียวัตถุในดินจากข้อมูลภาพถ่ายทั้ง
                       2 เดือน (ตารางที่ 16) โดยข้อมูลภาพถ่ายในมีนาคม พบความสัมพันธ์ในระดับต่ ามากทั้ง 3 ดัชนี ขณะที่ข้อมูลภาพ
                       ถ่ายในธันวาคม ดัชนี NDVI และ GNDVI พบความสัมพันธ์ในระดับต่ าถึงปานกลาง โดย GNDVI โมเดลแบบ
                                         2
                       Logarithmic โดยมีค่า r  เท่ากับ 0.40 และ p-value เท่ากับ 0.18 ทั้งนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าข้อมูลภาพถ่าย
                       ดาวเทียม Sentinel-2 มีศักยภาพในการใช้ท าแบบจ าลองส าหรับประมาณปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (ภาพที่ 10)
                       โดยความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนี GNDVI เดือนธันวาคมกับปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีความสัมพันธ์เชิงลบคือ
                       พบว่าเมื่อค่า GNDVI สูงขึ้นปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีแนวโน้มลดลง ซึ่งโดยทั่วไปค่าดัชนีพืชพรรณจะสามารถใช้

                       จ าแนกปริมาณของพืชและสุขภาพของพืชที่ปกคลุม โดยพืชที่มีขนาดใหญ่ มีมวลชีวภาพสูง จะมีค่าดัชนี NDVI
                       ดัชนี GNDVI และ ดัชนี NDII ที่สูงกว่าบริเวณที่พืชปกคลุมอยู่น้อยและพืชเป็นโรคทั้งจากการขาดธาตุอาการและ
                       การเกิดโรคแมลง ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าบริเวณที่มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงแต่มีค่าดัชนีพืชพรรณต่ ากว่า
                       ซึ่งเป็นพื้นที่นาข้าวจึงอาจเป็นไปได้ว่าการศึกษาโดยใช้ค่าดัชนีพืชพรรณเพื่อหาความสัมพันธ์กับปริมาณ

                       อินทรียวัตถุในดินอาจต้องค านึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ ชุดดิน และชนิดของพืชที่ปกคลุม ซึ่งโดยทั่วไปนาข้าว
                       จะอยู่ในบริเวณชุดดินที่เป็นดินเหนียวในที่ลุ่ม เป็นบริเวณที่มีการสะสมของอินทรียวัตถุสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ
                       บริเวณพื้นที่ดอนซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดินร่วนหรือดินทรายในบริเวณที่ปลูกไม้ยืนต้นที่มีค่าดัชนีพืชพรรณสูง หน้า

                       ดินตื้น มีชั้นดินน้อย มีการชะล้างหน้าดินมาก ชั้นดินบนจะบาง หรืออาจจะไม่มีชั้นดินบนเลยก็ได้ ตรงกันข้ามกับ
                       ดินที่เกิดในที่ราบลุ่ม  ที่มักจะมีชั้นดินบนที่หนากว่าเนื่องจากเป็นแหล่งทับถมของตะกอน เนื้อดินละเอียดกว่า
                       เพราะมีการเคลื่อนย้ายอนุภาคขนาดดินเหนียวจากดินชั้นบนลงไปสะสมอยู่ในดินล่าง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557ข)



                                         (%)


























                               ภาพที่ 10 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนี GNDVI เดือนธันวาคมกับค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56