Page 248 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 248

2-220








                        2.6.5 ภาคใต้
                            พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคใต้ มีจ านวน 10 ชนิดพืช ได้แก่ มะพร้าว
                  เกาะพะงัน เงาะโรงเรียนนาสาร ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สับปะรดภูเก็ต

                  ทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา ทุเรียนในวงระนอง กล้วยเล็บมือนางชุมพร และข้าวเหลือง
                  ปะทิวชุมพร
                            1) มะพร้าวเกาะพะงัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลการส ารวจดินของกรมพัฒนาที่ดิน มาตราส่วน

                  1:25,000 (กองส ารวจและวิจัยทรัพยากรดิน, 2561) ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน (กองนโยบายและแผน
                  การใช้ที่ดิน, 2563) และข้อมูลขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่อยู่ในประกาศของ
                  กรมทรัพย์สินทางปัญญา พบว่า พื้นที่ปลูกมะพร้าวส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่ 19,809 ไร่
                  หรือร้อยละ 78.20 ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมดในขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ที่อยู่

                  ในประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา รองลงมาคือพื้นที่ปลูกมะพร้าวในกลุ่มดินร่วนหยาบ กลุ่มดินทราย
                  และกลุ่มดินร่วนละเอียด มีเนื้อที่ 4,920 500 และ 99 ไร่ หรือร้อยละ 19.43 1.98 และ 0.39 ตามล าดับ โดย
                  มีรายละเอียดชุดดินที่พบในพื้นที่ปลูกมะพร้าว ดังนี้ (ตารางที่ 2.6-39 และรูปที่ 2.6-39)


                  ตารางที่ 2.6-39 ชุดดินที่พบในพื้นที่ปลูกมะพร้าวที่อยู่ในขอบเขตพื้นที่การผลิตพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)
                                มะพร้าวเกาะพะงัน ที่อยู่ในประกาศของกรมทรัพย์สินทางปัญญา


                                                                                        เนื้อที่
                                      ชุดดิน                      สัญลักษณ์
                                                                                   ไร่         ร้อยละ

                      1. กลุ่มดินทราย                                                 500         1.98

                          ชุดดินหัวหิน                               Hh                500          1.98

                      2. กลุ่มดินร่วนละเอียด                                            99         0.39

                          ชุดดินคลองนกกระทุง                        Knk                 99          0.39

                      3. กลุ่มดินร่วนหยาบ                                            4,920        19.43

                          ชุดดินทุ่งหว้า                             Tg              4,874        19.25

                          หน่วยดินเชิงซ้อนของตะกอนน้ าพา             AC                 46          0.18

                      4. พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน                                     19,809        78.20

                          พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน                      SC             19,809        78.20
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253