Page 143 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 143

2-115





                  คือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และ

                  พื้นที่เนินเขา คิดเป็นร้อยละ 20.09 8.67 5.72 0.71 และ 0.21 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-42)
                             5)  สับปะรดภูเก็ต

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกสับปะรดภูเก็ต ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอถลาง อ าเภอ
                  กระทู้ และอ าเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือไม่ไกล
                  แผ่นดินมากนัก จึงมีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้ายคลึงกับแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง พื้นที่เกาะ

                  ประกอบด้วยพื้นที่ลาดชันแบบภูเขา ที่ราบเชิงเขา และที่ราบต่ า มีภูเขาทอดยาวตามแนวเหนือใต้ ซึ่ง
                  ภูเขาส่วนมากอยู่ทางด้านตะวันตก ท าให้ที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกแคบ ทางด้านเหนือและ
                  ตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูง มีคลองสายสั้นๆ ไหลลงทางตอนใต้และตะวันออก ลักษณะภูมิ

                  ประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 30.51 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้าง
                  ราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย และพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน คิดเป็นร้อยละ
                  19.11 15.51 12.13 และ 3.04 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-43)

                             6)  ทุเรียนสาลิกาพังงา
                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกทุเรียนสาลิกาพังงา ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอกะปง

                  จังหวัดพังงา ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 81.31 รองลงมาคือ
                  พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่น
                  ลอนชัน และพื้นที่เนินเขา คิดเป็นร้อยละ 8.43 5.39 2.48 2.02 และ 0.37 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่
                  2.5-44)

                             7)  ข้าวไร่ดอกข่าพังงา

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกข้าวไร่ดอกข่าพังงา ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอตะกั่วทุ่ง
                  อ าเภอท้ายเหมือง และอ าเภอเมือง จังหวัดพังงา ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
                  คิดเป็นร้อยละ 39.00 รองลงมาคือพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูก
                  คลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เนินเขา คิดเป็นร้อยละ 25.27 9.08 6.86 2.36

                  และ 0.51 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-45)
                             8)  ทุเรียนในวงระนอง

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกทุเรียนในวงระนอง ครอบคลุมพื้นที่ต าบลในวงเหนือ
                  และต าบลในวงใต้ อ าเภอละอุ่น จังหวัดระนอง พื้นที่ดังกล่าวเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสองคาบสมุทร โดย
                  ฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดระนองมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า และฝั่งทะเลอ่าวไทยมีอาณาเขต

                  ติดต่อกับจังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาหินปูน คล้ายกับอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟ มีความสูง
                  จากระดับน้ าทะเลโดยเฉลี่ย 320 เมตร มีป่าต้นน้ าและคลองสายหลัก ได้แก่ คลองห้วยหอย และล าห้วย
                  ต่างๆ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 83.48 รองลงมาคือพื้นที่ลูก

                  คลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด และพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ
                  7.86 7.30 และ 1.36 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-46)
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148