Page 142 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 142

2-114





                        2.5.5  ภาคใต้

                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคใต้ มีจ านวน 10 ชนิดพืช ได้แก่ มะพร้าว
                  เกาะพะงัน เงาะโรงเรียนนาสาร ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สับปะรดภูเก็ต
                  ทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา ทุเรียนในวงระนอง กล้วยเล็บมือนางชุมพร และข้าวเหลือง

                  ปะทิวชุมพร มีรายละเอียดดังนี้
                             1)  มะพร้าวเกาะพะงัน

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกมะพร้าวเกาะพะงัน ครอบคลุมพื้นที่ต าบลบ้านใต้ และ
                  ต าบลเกาะพะงัน อ าเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกาะพะงันเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กลางทะเล
                  อ่าวไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ลาดชัน บริเวณกลางเกาะเป็นภูเขาสูงป่าดิบชื้นสภาพ

                  สมบูรณ์ ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีล าคลองสายสั้นๆ จ านวน 19 สาย ที่ไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล ลักษณะ
                  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน คิดเป็นร้อยละ 77.70 รองลงมาคือพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด
                  พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เนิน
                  เขา คิดเป็นร้อยละ 7.29 6.99 4.96 1.97 และ 0.66 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-39)

                             2)  เงาะโรงเรียนนาสาร

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกเงาะโรงเรียนนาสาร ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอบ้านนา
                  สาร อ าเภอบ้านนาเดิม และอ าเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นที่
                  ราบเชิงเขา มีแหล่งน้ าที่ส าคัญคือ แม่น้ าตาปี คลองฉวาง คลองสระ คลองท่านอง และคลองล าพูน
                  เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่เหมืองแร่มาก่อน จึงท าให้ดินบริเวณนั้นมีแร่ธาตุยิปซั่มและ

                  แมกนีเซียมอยู่ในดินเป็นจ านวนมาก จึงมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกเงาะ ลักษณะภูมิประเทศ
                  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 35.13 รองลงมาคือพื้นที่ลาดชัน
                  เชิงซ้อน พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เนินเขา

                  คิดเป็นร้อยละ 27.07 25.77 8.33 2.55 และ 0.26 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-40)
                             3)  ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอ
                  ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบลุ่มป่าชายเลน น้ าท่วมขัง เป็นน้ ากร่อย
                  บริเวณพื้นที่ไม่พบภูเขาหรือเนินสูง พื้นที่บริเวณทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อทะเลอ่าวไทย มีสันทราย

                  แคบทอดยาว ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ
                  97.42 ของพื้นที่ (รูปที่ 2.5-41)
                             4) ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุงตั้งอยู่ตอนต้น
                  ของทะเลสาบสงขลา เป็นที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าในบริเวณที่ลุ่มฝั่งน้ า

                  รวมถึงบริเวณสันดินริมน้ า ซึ่งเกิดจากล าน้ าพัดพาตะกอนมาทับถมริมฝั่งในระหว่างหน้าน้ าหลาก โดยที่
                  ราบกว้างดังกล่าวนี้อยู่ระหว่างเทือกเขาบรรทัดทางทิศตะวันตก และทะเลสาบสงขลาทางทิศตะวันออก
                  เป็นแนวยาวเหนือใต้ มีทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ าขนาดใหญ่ส าหรับการท าการเกษตร ลักษณะภูมิ
                  ประเทศส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 51.63 ของพื้นที่ รองลงมา
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147