Page 104 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 104

2-76




                        2.5.2  ภาคกลาง

                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคกลาง มีจ านวน 16 ชนิดพืช ได้แก่ ส้มโอ
                  ขาวแตงกวาชัยนาท ส้มโอนครชัยศรี ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม มะยงชิด
                  นครนายก มะปรางหวานนครนายก พริกบางช้าง มะพร้าวน้ าหอมราชบุรี สับปะรดบ้านคา ชมพู่เพชร

                  มะพร้าวทับสะแก มะพร้าวน้ าหอมบ้านแพ้ว ล าไยพวงทองบ้านแพ้ว มะนาวเพชรบุรี กระท้อนตะลุง
                  และละมุดบ้านใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

                             1) ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท พื้นที่จังหวัดชัยนาท
                  โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ าเจ้าพระยา แม่น้ าน้อย และแม่น้ าท่าจีน ไหลผ่านบริเวณอ าเภอเมือง
                  อ าเภอมโนรมย์ และอ าเภอสรรคบุรี ส่วนพื้นที่ในอ าเภอวัดสิงห์ อ าเภอหันคา กิ่งอ าเภอหนองมะโมง และ

                  กิ่งอ าเภอเนินขาม มีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนสลับกับพื้นที่ลุ่ม ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่
                  ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 79.95 รองลงมาคือพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พื้นที่
                  ลาดชันเชิงซ้อน พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด และพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน คิดเป็นร้อยละ 12.68 1.80 0.88 และ
                  0.05 ของพื้นที่ตามล าดับ (รูปที่ 2.5-9)

                             2)  ส้มโอนครชัยศรี

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกส้มโอนครชัยศรี พื้นที่อ าเภอสามพราน อ าเภอนครชัยศรี

                  และอ าเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มของลุ่มแม่น้ านครชัยศรี มีตะกอนมาทับถม
                  เมื่อเกิดฤดูน้ าหลาก ส่งผลให้มีธาตุอาหารต่างๆ สะสมอยู่ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ลักษณะภูมิประเทศ
                  ส่วนใหญ่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของพื้นที่ (รูปที่ 2.5-10)

                             3)  ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม

                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม พื้นที่ต าบลขันแตก
                  ต าบลท้ายหาด อ าเภอเมือง ทุกต าบลยกเว้นต าบลยี่สารและต าบลแพรกหนามแดงในอ าเภออัมพวา และ

                  อ าเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การท าการเกษตรเนื่องจากมีแม่น้ าล าคลอง
                  อยู่ในพื้นที่เป็นจ านวนมาก ประกอบด้วย แม่น้ าแม่กลอง คลองธรรมชาติและคลองขุดเชื่อมต่อกันกว่า
                  300 คลอง ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิดเป็นร้อยละ 96.49 ของ

                  พื้นที่ (รูปที่ 2.5-11)
                             4)  ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม


                               ลักษณะภูมิประเทศในพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม พื้นที่ต าบลขันแตก อ าเภอ
                  เมือง อ าเภออัมพวา และอ าเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การท าการเกษตร
                  เนื่องจากมีแม่น้ าล าคลองอยู่ในพื้นที่เป็นจ านวนมาก ประกอบด้วย แม่น้ าแม่กลอง คลองธรรมชาติและ
                  คลองขุดเชื่อมต่อกันกว่า 300 คลอง ลักษณะภูมิประเทศมีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ คิด
                  เป็นร้อยละ 66.22 ของพื้นที่ (รูปที่ 2.5-12)
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109