Page 61 - รายงานสภาพการใช้ที่ดิน 2565
P. 61
51
ตารางที่ 4 (ต่อ)
เนื้อที่
สัญลักษณ์ ประเภทการใช้ที่ดิน
ไร่ ร้อยละ
M302 บ่อลูกรัง 775 0.01
M303 บ่อทราย 111 -
M304 บ่อดิน 2,508 0.04
M405 พื้นที่ถม 6,155 0.10
M701 ที่ทิ้งขยะ 285 -
รวมทั้งหมด 6,451,178 100.00
ที่มา: จากการวิเคราะห์โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน
กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
2.5 สภาพการใช้ที่ดินจังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2565
จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,307,302 ไร่ สามารถจําแนกประเภทการใช้ที่ดินได้
ออกเป็น 5 ประเภท คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ 248,359 ไร่ หรือร้อยละ 7.52
ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่เกษตรกรรม (A) มีเนื้อที่ 2,713,858 ไร่ หรือร้อยละ 82.02 ของเนื้อที่จังหวัด
พื้นที่ป่าไม้ (F) มีเนื้อที่ 126,772 ไร่ หรือร้อยละ 3.83 ของเนื้อที่จังหวัด พื้นที่น้ํา (W) มีเนื้อที่
137,892 ไร่ หรือร้อยละ 4.17 ของเนื้อที่จังหวัด และพื้นที่เบ็ดเตล็ด (M) มีเนื้อที่ 80,421 ไร่ หรือร้อยละ
2.46 ของเนื้อที่จังหวัด โดยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แต่ละประเภทมีรายละเอียด (ภาพที่ 5 และ
ตารางที่ 5) ดังนี้
2.5.1 พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง (U) มีเนื้อที่ 248,359 ไร่ หรือร้อยละ 7.52 ของเนื้อที่
จังหวัด ประกอบด้วยตัวเมืองและย่านการค้า หมู่บ้านบนพื้นราบ หมู่บ้าน/ที่ดินจัดสรรร้าง สถานที่
ราชการและสถาบันต่าง ๆ ถนน โรงงานอุตสาหกรรม ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร สถานที่
พักผ่อนหย่อนใจ สุสาน,ป่าช้า และสถานีบริการน้ํามัน
1) ตัวเมืองและย่านการค้า (U1) มีเนื้อที่ 24,411 ไร่ หรือร้อยละ 0.74 ของเนื้อที่จังหวัด
ประกอบด้วยอําเภอเมืองมหาสารคาม อําเภอแกดํา อําเภอโกสุมพิสัย อําเภอกันทรวิชัย อําเภอเชียง
ยืน อําเภอบรบือ อําเภอนาเชือก อําเภอพยัคฆภูมิพิสัย อําเภอวาปีปทุม อําเภอนาดูน อําเภอกุดรัง
อําเภอยางสีสุราช และอําเภอชื่นชม
2) หมู่บ้าน (U2) ได้แก่ หมู่บ้านบนพื้นราบและหมู่บ้าน/ที่ดินจัดสรรร้าง มีเนื้อที่
164,981 ไร่ หรือร้อยละ 4.99 ของเนื้อที่จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนซึ่งกระจายตัว
อยู่ทั่วไปในทุกอําเภอ และหมู่บ้าน/ที่ดินจัดสรรร้าง มีเนื้อที่ 160 ไร่
3) สถานที่ราชการและสถานบันต่าง ๆ (U3) มีเนื้อที่ 40,095 ไร่ หรือร้อยละ 1.21
ของเนื้อที่จังหวัด ได้แก่ สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ และสถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ ร้าง