Page 67 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 67

- 27 -


               วิเคราะห์ดินแต่ละตัวแปร และศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนพื้นที่ป่าและพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ สรุปผล

               ตามตารางที่ 5.3 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                       1) ค่าปฏิกริยาดิน (pH) ในช่วง 3.9–6.3 ดินมีสภาพเป็นกรด

                       2) ระดับธาตุอาหารหลักจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) อินทรียวัตถุในดิน (OM) (2) ปริมาณฟอสฟอรัส

               ที่เป็นประโยชน์ (Available P 2O 4 : P) และ (3) ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (Available K 2O : K)
               ได้ผลดังนี้

                              • ระดับอินทรียวัตถุ (OC) ประเมินจากสัดส่วนของอินทรียวัตถุในดินเป็นร้อยละ

               ของมวลดินแห้งที่ระดับความลึก 15–20 เซนติเมตร อยู่ในช่วงร้อยละ 0.15–1.70

                              • ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P) อยู่ในช่วง 2–422 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                              • ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ (K) อยู่ในช่วง 10–483 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   5.3.3  การประเมินปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในชั้นดินบนที่ระดับ 15–20 เซนติเมตร จากผลการวิเคราะห์

               อินทรียวัตถุ (OM) อยู่ในช่วงสัดส่วนร้อยละ 0.185–0.986
                   5.3.4 ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน (OC) ในดินของพื้นที่ป่า อยู่ในระดับสูงสุด (0.46–0.52) ส่วนพื้นที่

               ปลูกพืชเศรษฐกิจ มีศักยภาพกักเก็บคาร์บอนสูงสุด คือ มันสำปะหลัง (0.30–0.79) ข้าว (0.20–0.99) อ้อย

               (0.22–0.24) และยางพารา (0.09–0.54) ตามลำดับ
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72