Page 66 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 66

- 26 -









































               รูปที่ 5.30: สภาพการใช้ที่ดินจากการสำรวจเกษตรกรรายแปลง พื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู

               หมายเหตุ: พื้นที่ คทช. แปลงจัดสรรบางแห่งยังมีความซ้ำซ้อนกับพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)

               5.3  การกระจายตัวของปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดิน

                   5.3.1 จากการศึกษาทบทวนข้อมูลดินเชิงกายภาพของพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีภูมิธรณีสัณฐานเป็นดินลุ่ม
               มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ำตาลปนเทา

               การระบายน้ำค่อนข้างเลว และเมื่อทำการซ้อนทับข้อมูลชุดดินของประเทศกับข้อมูลดินในพื้นที่ศึกษา

               ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่าพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า
               อำเภอธาตุพนม ประกอบด้วย 2 ชุดดิน คือ ชุดดินปักธงชัย (Ptc) และชุดดินสีทน (St) ซึ่งกระจายตัวปกคลุม

               พื้นที่ศึกษาในสัดส่วนต่าง ๆ (บทที่ 3 รูปที่ 3.2 และภาคผนวก 5)

                   5.3.2  การวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (Organic Matter: OM) และประเมินปริมาณอินทรีย์
               คาร์บอนสะสมในดิน (Organic Carbon: OC) ของชุดดินตัวแทนหลัก การศึกษาได้ทำการประเมินปริมาณอินทรีย์

               คาร์บอนทั้งหมด (Cs, Tonne/Ha) โดยใช้ค่าอินทรีย์คาร์บอน (C, %) ที่ระดับความลึก 15–20 เซนติเมตร
               เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการ (ภาคผนวก 4) พบว่าค่าวิเคราะห์ดิน 15 จุด (จัดเก็บ

               จุดละ 2 วิธี) รวม 30 ตัวอย่าง โดยแบ่งจุดเก็บดินเป็นรายแปลงชนิดพืชจากพื้นที่ศึกษา เพื่อใช้ประเมิน

               ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ (1) ค่าพิสัยความเป็นกรด-ด่าง ของดิน (pH) วัดจาก
               ค่าปฏิกริยาดินที่อัตราส่วนดินต่อน้ำ 1 : 1 (pH 1 : 1) และ (2) ค่าระดับธาตุอาหารหลัก ค่าพิสัยของผลการ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71