Page 179 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 179

ภาคผนวก 8

                                                  การประเมินคุณภาพที่ดิน


                                         …………………………………………………………………..


                  การประเมินคุณภาพที่ดินเป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท
            ต่าง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน ตามหลักการ FAO Framework 1983 ซึ่งแบ่งการประเมินที่ดินออกเป็น

            2 รูปแบบ คือ 1) การประเมินด้านคุณภาพ (Qualitative Land Evaluation) เป็นการประเมินที่ดินทางกายภาพ
            ว่ามีความเหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใด ต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ และ 2) การประเมินที่ดินทางด้าน

            ปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ (Quantitative Land Evaluation) ซึ่งพิจารณาจากการให้ค่าตอบแทนในรูปผลผลิต

            ที่ได้รับ ตัวเงินในการลงทุน และตัวเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ประเมินทางด้านกายภาพ
            เพียงอย่างเดียว


            8.1  การวิเคราะห์เพื่อจัดทำหน่วยที่ดิน

                  หน่วยที่ดิน (Land Unit) เป็นการศึกษาและวิเคราะห์คุณลักษณะของดินให้ครอบคลุมในด้านการจัดการและ
            การอนุรักษ์ เพื่อจัดเป็นหน่วยที่ดินที่มีสมบัติเฉพาะตัวของหน่วยที่ดินนั้น ๆ สำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดิน

            ซึ่งการจัดการที่ดินที่นำมาพิจารณาในการจัดทำหน่วยที่ดินมีหลายประเภท เช่น โครงการจัดรูปที่ดิน ยกร่องในพื้นที่ลุ่ม
            และดินดอนมีคันนา เป็นต้น

                  การจัดทำหน่วยที่ดิน (Land Unit) สำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินในพื้นที่ คทช .พิจารณาจาก

            ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช โดยใช้ข้อมูลชุดดิน
            (Soil Series) ประเภทดิน (Soil Phases) เป็นฐานข้อมูลหลัก


            8.2  การศึกษาระดับความต้องการปัจจัยสำหรับพืชเศรษฐกิจ

                  ระดับความต้องการปัจจัยสำหรับพืชเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับคุณภาพที่ดิน (Land Quality) การประเมิน
            คุณภาพที่ดินด้านกายภาพตามระบบของ FAO Framework 1983 ได้กำหนดคุณภาพที่ดินไว้ทั้งหมด 25  ชนิด


            เพื่อใช้ ประกอบการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน
            จำนวนมาก ถ้าจะนำคุณภาพที่ดินทั้งหมดเข้าสู่การประเมินอาจทำให้ผลที่ได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงมีการกำหนด


            เงื่อนไขในการคัดเลือกคุณภาพที่ดินว่าจะต้องมีระดับความสำคัญครบอย่างน้อย 3 ประการ  คือ 1) คุณภาพที่ดินเหมาะสม
            กับพืชหรือประเภทการใช้ที่ดินนั้น ๆ อย่างมาก 2) ค่าวิกฤตต้องพบในพื้นที่ที่ปลูกพืชนั้น ๆ และ 3) มีข้อมูลที่
            สามารถให้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งจากเงื่อนไขทั้ง 3 ประก าร ดังกล่าวนี้ สามารถนำมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ

            (Significance of Land Quality) ของที่ดินทั้ง 25 ชนิด ว่าคุณภาพที่ดินชนิดใดมีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ
            ความพร้อมของข้อมูล ความแตกต่างของภูมิภาค และระดับความรุนแรงของคุณลักษณะดินที่มีผลต่อผลผลิต

            ตลอดจนชนิดของพืช และความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirements) คุณภาพที่ดินทั้ง 25 ชนิด

            มีดังนี้
   174   175   176   177   178   179   180   181   182