Page 174 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 174

ู
                                ้
                                         ื
                                                                                 ี
                                                          ้
                                                                         ่
                                            ี
            และปาล์มน้ำมัน โดยขอมลขนาดพ้นท่ในการศกษาน้ไดจากการแปลภาพถายดาวเทยมโดยตรง สำหรับข้อมูลปริมาณ
                                                        ี
                                                   ึ
            คาร์บอนในดิน (Soil Organic Carbon) จะใช้ผลการวิเคราะห์ดินจากห้องปฏิบัติการประกอบการประเมินปริมาณการ
            ปล่อยคาร์บอนสุทธิในดิน ซึ่งผลลัพธ์ของการศึกษาจะแสดงการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้
                                                                                                     ี่
            ที่ดินจากพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับพืชเกษตรแต่ละชนิด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกรอบเวลาการศกษาทกำหนด
                                                                                                 ึ
                  ในส่วนของค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EF) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงอัตราการปล่อย / ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
            ต่อหน่วยพื้นที่ ใช้วิธีการคำนวณและคำจำกัดความตาม 1996 IPCC Guidelines และคำอธิบายเพิ่มเติมตาม
            LULUCF-GPG โดยการคำนวณการปล่อย / ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก พิจารณาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรม
            หลัก ได้แก่ การปลูกป่า ซึ่งจัดเป็นการเพิ่มพูนมวลชีวภาพ (Growth Increment) จากป่าและจากพืชเกษตร 5 ชนิด ที่

            มีการปลูกในพื้นที่ (มันสำปะหลัง นาข้าว อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน) การเลือกใช้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

            ขึ้นกับรูปแบบกิจกรรมและความพร้อมของข้อมูล สมการที่ใช้ในการคำนวณสำหรับการศึกษานี้ ดังสมการที่ (2)


                    ปริมาณความเพิ่มพูนของมวลชีวภาพจากการเติบโต  = พื้นที่ป่า / พื้นทพืชเกษตร (เฮกตาร์) x
                                                                              ี่
                                                                      ความเพิ่มพูดเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพของป่า /

                                                                      พืชเกษตรแต่ละชนิด (ตันน้ำหนักต่อเฮกตาร์)        (2)


                7.1.4  การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามคู่มือ IPCC ปี 1996 กำหนดระดับความยากง่ายของวิธีการ

            ประเมินเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเทียร์ (Tier 1) เทียร์ 2 (Tier 2) และเทียร์ 3 (Tier 3) โดยระดับเทียร์ที่สูงขึ้นจะ
            ให้ผลการประเมินการปล่อยก๊าซมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น แต่ต้องการความละเอียดและความพร้อมของ

            ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ระดับการประเมินจึงเป็นสิ่งกำหนดข้อมูลกิจกรรม (AD) และค่าการปล่อยก๊าซเรือน
            กระจก (EF) ที่ใช้ด้วย ทั้งนี้ ระดับการประเมินแต่ละระดับมีรายละเอียด ดังนี้

                  (1) ระดับเทียร์ 1 เป็นการประเมินที่ง่ายที่สุด โดยทำการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามวิธีการของ

            IPCC และใช้ข้อมูลกิจกรรมและค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EF) ตามค่าแนะนำ (Default Value) ใน
            คู่มือ IPCC โดยสามารถเลือกใช้ข้อมูลกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเทศได้

                  (2) ระดับเทียร์ 2 มีวิธีการประเมินที่คล้ายคลึงกับระดับเทียร์ 1 แต่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือที่มากขึ้น

            เพราะใช้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นค่าเฉพาะของประเทศ (Country Specific Emission Factor) โดยค่า
            การปล่อยก๊าซเรือนกระจกกำหนดจากการศึกษาและวิจัยภายใต้สภาวะและเงื่อนไขของประเทศ เช่น ค่าที่ได้จากการ

            วัดจริงในพื้นที่หรือรวบรวมจากงานศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งจากหน่วยงานรัฐ สถานศึกษา และหน่วยงานเอกชนในประเทศ

            เป็นต้น
                  (3) ระดับเทียร์ 3 เป็นระดับการประเมินที่มีความความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากที่สุด แต่มีความละเอียด

            ของการประเมินอย่างมาก โดยใช้ค่าข้อมูลกิจกรรมและค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นค่าวัดโดยตรงจากทุก ๆ พื้นที่
            เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่การจัดการมูลสัตว์ หรือตัวสัตว์ของประเทศ หรือได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่

            ใช้เพื่อคาดการณ์

                                                                                                       ี
                7.1.5 เนื่องจากการใช้ที่ดินพื้นที่ศึกษา มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งศึกษาวิจัยและรายงานโดยส่วนราชการที่เก่ยวช้อง
            เป็นไปตามวิธีการคำนวณในระดับ Tier 2 คือ (1) มีกิจกรรมหลัก และ (2) มีข้อมูลเฉพาะของประเทศไทย การศึกษานี้เป็นการ
   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179