Page 16 - โครงการปรับเปลี่ยน
P. 16

1-4






                  1.8  วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน

                            1) ศึกษาข้อมูลและจัดทำเครื่องมือ
                                ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น พืชในพื้นที่โครงการ พื้นที่

                  ที่เข้าร่วมโครงการ เป็นต้น และจัดเตรียมเครื่องมือ เช่น แผนที่ เครื่องคำนวณระบบกำหนดตำแหน่ง
                  บนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS) แบบสอบถามในการสำรวจ เป็นต้น พร้อมทั้ง
                  วางแผนการปฏิบัติงาน และประสานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                            2) การเก็บรวบรวมข้อมูล

                                2.1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากการสำรวจภาคสนาม
                  (Field Survey) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกร โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires)
                                2.2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำการเก็บรวบรวมจาก
                  เอกสารวิชาการ ผลงานวิจัย รายงาน บทความ และระบบสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว

                  มาอ้างอิงและประกอบการศึกษา
                             3) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                                3.1) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนกิจกรรม
                  การผลิตในปี 2563 ในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 และเขต 9 ที่ทำนาข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3, N)

                  และปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นเกษตรผสมผสาน จำนวน 384 ตัวอย่าง
                                3.2) กลุ่มตัวอย่าง คือ การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ใช้ในการศึกษา
                  ด้วยวิธีการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 (ภาคผนวก ก) ซึ่งมี

                  ขนาดตัวอย่างจำนวน 79 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability
                  sampling) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (ภาคผนวก ข)
                  ตามสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ดังนี้
                                    (1) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 จำนวน 52 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 63.41
                                    (2) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 จำนวน 30 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36.59

                             4) การวิเคราะห์ข้อมูล
                                ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจะนำมาตรวจสอบเพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แล้วนำมา
                  ประมวลผลในสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป Microsoft Excel และตรวจสอบ

                  ความถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive
                  Analysis) แสดงผลเป็นค่าความถี่ และหรือค่าร้อยละ และหรือค่าเฉลี่ย ได้แก่
                                4.1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร การถือครองที่ดิน หนังสือสำคัญในที่ดิน การ
                  กู้ยืมเงินเพื่อการเกษตร สถานภาพทางการเงินของครัวเรือน สถานภาพการทำงานของครัวเรือน โดยใช้

                  ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
                                4.2) การวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนการผลิต และความพึงพอใจการประเมินผล

                  โครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ได้แก่
                                    (1) สภาพการผลิตและการกระจายผลผลิต โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21