Page 17 - โครงการปรับเปลี่ยน
P. 17

1-5






                                    (2) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนผันแปร และ

                  ต้นทุนคงที่ โดยมีวิธีการคำนวณต้นทุนรวม ดังนี้
                                          ต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่

                                    (3) การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
                                           ผลตอบแทนเหนือต้นทุนเงินสด  =  ผลต่างระหว่างมูลค่าผลผลิตที่ได้
                                                                          ทั้งหมดกับต้นทุนที่เป็นเงินสด
                                                                          ทั้งหมด

                                    (4) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการลงทุนว่าควร
                  จะลงทุนในการผลิตหรือไม่ ได้แก่ อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C Ratio)
                  หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบมูลค่าปัจจุบันเฉลี่ยต่อไร่ของผลตอบแทนกับต้นทุนทั้งหมดตลอดช่วงปี
                  ที่ทำการผลิต โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการใด ๆ คือ B/C Ratio ที่มีค่ามากกว่า

                  หรือเท่ากับ 1 ถ้า B/C Ratio มากกว่า 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตพืชมากกว่า
                  ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไป หรือถ้า B/C Ratio เท่ากับ 1 หมายความว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากการ
                  ผลิตพืชเท่ากับค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไปพอดี (กฤช, 2557)
                                    (5) การประเมินผลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยการอธิบายเปรียบเทียบ

                  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการว่ามีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจำนวนกี่คน และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าไหร่
                  และคิดเป็นร้อยละเท่าไร โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
                                    (6) การวิเคราะห์ความพึงพอใจ โดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยการวิเคราะห์

                  ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ได้ให้เกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
                                          มากที่สุด          ให้คะแนน 5 คะแนน
                                          มาก                ให้คะแนน 4 คะแนน
                                          ปานกลาง            ให้คะแนน 3 คะแนน
                                          น้อย               ให้คะแนน 2 คะแนน

                                          น้อยที่สุด         ให้คะแนน 1 คะแนน
                                          จากนั้นนำค่าคะแนนความพึงพอใจไปวิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดเกณฑ์
                  ค่าเฉลี่ยในการประเมิน ดังนี้

                                          ค่าเฉลี่ย          ความหมาย
                                          4.21 – 5.00        พึงพอใจมากที่สุด
                                          3.41 – 4.20        พึงพอใจมาก
                                          2.61 – 3.40        พึงพอใจปานกลาง

                                          1.81 – 2.60        พึงพอใจน้อย
                                          1.00 – 1.80        พึงพอใจน้อยที่สุด
                             5) การเสนอรายงานการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ
                               นำเสนอในรูปแบบของการบรรยายประกอบตาราง โดยใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ

                  ที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิที่เก็บรวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมา
                  เขียนรายงานการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22