Page 11 - โครงการปรับเปลี่ยน
P. 11

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร



                               การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยน
                  การผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร และวิเคราะห์ต้นทุน
                  และผลตอบแทนสำหรับพืชเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสานของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

                  ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปี 2563 จำนวน 82 ราย ในพื้นที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8
                  และเขต 9 ซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
                             ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร ในภาพรวมพบว่าเกษตรกรอยู่ในวัยกลางคน มีอายุเฉลี่ย 54 ปี
                  ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของระบบการศึกษาในอดีต

                  ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิกเฉลี่ย 3 คนต่อครัวเรือน โดยอยู่ในภาคเกษตรเฉลี่ย
                  2 คนต่อครัวเรือน มีพื้นที่เข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 12.20 ไร่ต่อครัวเรือน โดยมีหนังสือสำคัญในที่ดินเป็น
                  ส.ป.ก.4-01 มากที่สุด เฉลี่ย 6.41 ไร่ต่อครัวเรือน ใช้เนื้อที่เพาะปลูกเฉลี่ย 11.30 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งได้
                  กู้ยืมเงินร้อยละ 73.81 โดยเป็นลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมากที่สุดร้อยละ

                  74.19 มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 220,579.44 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 167,916.12 บาทต่อ
                  ปี และมีเงินคงเหลือในครัวเรือนเฉลี่ย 52,663.32 บาทต่อครัวเรือน
                             ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต
                  พืชเศรษฐกิจเป็นเกษตรผสมผสาน พบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการมีมูลค่าผลผลิต 3,570.87 บาทต่อไร่

                  ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,872.83 บาทต่อไร่ และได้รับผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,698.04 บาทต่อไร่
                  หลังเข้าร่วมโครงการมีมูลค่าผลผลิต 12,186.68 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,906.93 บาทต่อไร่
                  และได้รับผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,279.75 บาทต่อไร่ ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4,581.71 บาทต่อไร่ หรือร้อยละ

                  269.82 โดยอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) จาก 1.91 เพิ่มขึ้นเป็น 2.06
                             ผลการประเมินโครงการ พบว่าเกษตรกรร้อยละ 87.80 ของจำนวนเกษตรกร
                  กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยมีรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วม
                  โครงการเฉลี่ย 20,716.06 บาทต่อครัวเรือน และรายได้สุทธิหลังเข้าร่วมโครงการเฉลี่ย 70,961.17
                  บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50,245.11 บาทต่อครัวเรือน ในส่วนความพึงพอใจของโครงการ

                  ในภาพรวมพบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ย 4.32
                             ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ให้คำแนะนำหรือประชาสัมพันธ์เรื่อง

                  การผลิตพืชที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสภาพตลาด อีกทั้งให้เกษตรกรรุ่นใหม่ช่วยพัฒนา
                  คุณภาพและระบบการผลิตทางการเกษตร พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการผลิตพืชใหม่ ๆ
                  ให้เกษตรกรผู้สูงอายุ สนับสนุนให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิตพืช ส่งเสริม

                  การรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบระบบสหกรณ์ และปรับปรุงระบบการปล่อยสินเชื่อ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16