Page 84 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจข้าวนาปี
P. 84

4-2





                  จัดหาปัจจัยการผลิตคุณภาพดี ราคาต่ ากว่าท้องตลาดร้อยละ 59.74 รองลงมาคือ ประกันรายได้

                  เกษตรกรร้อยละ 55.84 และประกันราคาผลผลิตร้อยละ 44.16 ตามล าดับ
                              ความต้องการความช่วยเหลือด้านการครองชีพและ ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 3.13
                  ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยทั้งหมดต้องการให้จัดหาแหล่งน้ าเพื่อการบริโภคและอุปโภค

                              แนวคิดในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 91.28 มีแนวคิดในการ
                  เพิ่มผลผลิต โดย 3 ล าดับแรก ได้แก่ การเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีร้อยละ 63.37 รองลงมาคือ การลงทุนจัดหา
                  แหล่งน้ าร้อยละ 31.98 และป้องวัชพืช โรคพืช และศัตรูพืชร้อยละ 7.56 แต่ยังมีครัวเรือนเกษตร
                  ร้อยละ 8.72 ไม่ทราบวิธีการเพิ่มผลผลิต
                               แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช ครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 97.09

                  ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช และมีครัวเรือนเกษตรร้อยละ 2.91 คิดที่จะเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช โดย
                  ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 80.00 ของครัวเรือนเกษตรที่คิดเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช ต้องการลดพื้นที่
                  เพาะปลูกเพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน และครัวเรือนเกษตรร้อยละ 20.00 ต้องการเพิ่มพื้นที่

                  เพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต
                               แนวคิดในการวางแผนเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร ครัวเรือน
                  เกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 93.02 ไม่คิดเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร และมีครัวเรือนเกษตร
                  เพียงร้อยละ 6.98 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ที่วางแผนเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร

                  อาชีพที่ต้องการเปลี่ยน ได้แก่ อาชีพค้าขายร้อยละ 58.33 และอาชีพรับจ้างร้อยละ 41.67 โดยทั้งหมด
                  ให้เหตุผลว่าต้องการมีรายได้ประจ า

                             2) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกร
                               วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ราคาข้าวเปลือกนาปีที่เกษตรกรจ าหน่ายได้ ณ ไร่นา เฉลี่ย 8.54
                  บาทต่อกิโลกรัม

                               2.1) ข้าวนาปี
                                    (1)  พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)
                                         สภาพการผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวร้อยละ 45.61 รองลงมา

                  คือ ข้าวหอมมะลิร้อยละ 42.11 และข้าวเจ้าร้อยละ 12.28 มีเนื้อที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 5.65
                  ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกด้วยวิธีหว่านเมล็ดพันธุ์ร้อยละ 75.44 และปักด าร้อยละ 24.56 อายุพืชเฉลี่ย 3.96 เดือน
                  เริ่มท าการผลิตมากที่สุดเดือนมิถุนายนร้อยละ 54.39 และเก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุด
                  เดือนพฤศจิกายนร้อยละ 73.68 แหล่งน้ าที่ใช้ในการผลิตคือ น้ าฝนเพียงอย่างเดียวร้อยละ 43.86
                  และน้ าฝนร่วมกับแหล่งน้ าอื่นร้อยละ 56.14 โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 85.80 ปลูกเพื่อจ าหน่าย

                  ซึ่งเป็นการจ าหน่ายแบบอิสระทั้งหมดมีพ่อค้าในท้องถิ่นเป็นผู้รับซื้อ สถานที่จ าหน่ายส่วนใหญ่คือ จุดรับซื้อ
                  (โรงสี,ลานข้าว) ระยะทางในการขนส่งเฉลี่ย 11.00 กิโลเมตร
                                         ต้นทุนการผลิตทั้งหมด 4,628.63 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร

                  3,498.94 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 75.59) และต้นทุนคงที่ 1,129.69 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 24.41) ซึ่งมี
                  ต้นทุนต่อหน่วย 5.87 บาทต่อกิโลกรัม
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89